สมุทรปราการสมาร์ทซิตี้ – โครงการเชื่อมโยงการสื่อสารระหว่างภาครัฐและประชาชน

โครงการเชื่อมโยงการสื่อสารระหว่างภาครัฐและประชาชน

 เทคโนโลยี/นวัตกรรม

  • Instant messaging
  • Chat Bot
  • Digital map
  • ระบบ City data platform

 เป้าหมาย

  • สามารถสื่อสาร สร้างการรับรู้ประชาสัมพันธ์ ข้อมูลต่าง ๆ กับประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • ประชาชนสามารถร้องเรียนหรือเสนอข้อคิดเห็น ได้สะดวก
  • ปัญหาที่รับการร้องเรียนได้รับการแก้ไขปัญหาได้รวดเร็ว
  • เพิ่มประสิทธิภาพในการบริการจัดการภาครัฐ

ตัวชี้วัด

  • สามารถสื่อสาร แจ้งข้อมูลข่าวสารให้แก่ประชาชนได้ไม่น้อยกว่า 50,000 คน
  • เรื่องร้องเรียน ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60 ได้รับการแก้ไข
  • มีการเชื่อมโยงจากแจ้งข่าวสารหรือแจ้งเตือนจากภายนอกไม่น้อยกว่า 5 แห่ง

งบประมาณ 27,000,000 บาท

 

รายละเอียดโครงการ

ความสอดคล้องกับโจทย์ปัญหาเมืองและกลุ่มเป้าหมายผู้รับประโยชน์

จังหวัดสมุทรปราการเป็นจังหวัดปริมณฑลติดกับกรุงเทพมหานครมีการพัฒนาอย่างรวดเร็วและเป็นแหล่งสำหรับพักอาศัยของผู้คนจำนวนมากที่ขยายออกมาจากรุงเทพมหานคร สภาพความเป็นอยู่ส่วนใหญ่เป็นชุมชนเมือง มีหมู่บ้าน คอนโด และอพาร์ทเม้นท์ จำนวนมาก อีกทั้งยังมีประชากรแฝงจำนวนมากด้วย ทำให้การสร้างการรับรู้และการแจ้งข่าวสารให้กับประชาชนอย่างทั่วถึงและตรงกลุ่มเป้าหมายในรูปแบบปกติทำได้ลำบาก อีกทั้งการการติดต่อ การเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร หรือใช้บริการต่าง ๆ ของภาครัฐยังมีอุปสรรคพอสมควร จากการที่ต้องติดต่อกับภาครัฐในเวลาทำการและการที่ต้องรอเป็นเวลานานจนบางครั้งทำให้ต้องเสียรายได้หรือสละเวลาทำงาน ซึ่งตามหลักเกณฑ์ การบริหารเมืองอัจฉริยะในด้านการบริหารภาครัฐอัจฉริยะ (Smart Governance) คือ เมืองที่มุ่งเน้นพัฒนาระบบบริการเพื่อให้ประชาชนเข้าถึงบริการภาครัฐสะดวก รวดเร็ว เพิ่มช่องทางการมีส่วนร่วมของประชาชน รวมถึงการเปิดให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูล ทำให้เกิดความโปร่งใส ตรวจสอบได้

จะเห็นว่าสาระสำคัญอยู่ที่การสื่อสารกับประชาชน ซึ่งจากการประชุมคณะทำงานขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะจังหวัดสมุทรปราการทั้ง 7 ด้าน เห็นได้ว่าคณะทำงานของทุกด้านมีความต้องการที่จะสื่อสารกับประชาชน และโดยมีช่องทางกลางที่จะสามารถเชื่อมโยงกับการสื่อสารกับประชาชนได้อย่างสะดวก เพื่อให้สามารถติดต่อกับประชาชนได้ในลักษณะที่ตรงเป้าหมาย ไม่ใช่เป็นการสื่อสารแบบเหวี่ยงแห โดยในด้าน Smart Governance จำเป็นจะต้องคำนึงถึงการพัฒนา City Data Platform ไปในเวลาเดียวกัน เพื่อใช้ประโยชน์จากข้อมูลขนาดใหญ่ ทั่งนี้ ได้เล็งเห็นว่า Application Line เป็นที่รู้จักและเป็นที่นิยมของคนไทยอย่างมาก โดยมีการติดตั้งในโทรศัพท์ Smart phone แทบทุกเครื่อง ซึ่งบริษัท LINE ประเทศไทยได้ประกาศออกมาว่ามียอดผู้ใช้งาน LINE กว่า 50 ล้านคนแล้ว จึงเป็นช่องทางที่เหมาะสมในการพัฒนา Application ภายใต้ LINE Official Account ที่ออกแบบมาสำหรับธุรกิจเพื่อสื่อสารกับลูกค้าอย่างใกล้ชิด ส่งเสริมกิจกรรมทางธุรกิจ หรือการส่งข่าวสารข้อมูลต่าง ๆ ทำให้ผู้คนไม่ต้องติดต้อง Application ใด ๆ เพิ่มเติม เพียงแค่เพิ่ม Official Account เหมือนเพิ่มเพื่อนและกรอกข้อมูลเพิ่มเติมที่จำเป็นเข้าไปเท่านั้น  สามารถพัฒนานำบริการต่าง ๆ รวมถึงข้อมูลของภาครัฐมาเชื่อมโยงกับ LINE Official ได้ ซึ่งช่องทางนี้สามารถสื่อสารกับประชาชนได้ตรงตามกลุ่มเป้าหมายตามที่ต้องการทั้งเป็นรายคน รายกลุ่ม รายพื้นที่ อีกทำให้ประชาชนทุกคนสามารถติดต่อ แจ้งเรื่องร้องเรียน หรือเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของภาครัฐได้อย่างสะดวกรวดเร็ว อีกทั้งยังสามารถใช้ในการบริหารจัดการภาครัฐได้ด้วย เช่น การแจ้งเตือนกำหนดการต่างๆ แจ้งเตือนการร้องเรียน เป็นต้น

วิธีการ ขั้นตอนการดำเนินงาน ระยะเวลาดำเนินการ

  • การพัฒนา Application ภายใต้ LINE Official Account โดยผู้ใช้งานและประชาชนจะต้องลงทะเบียนเป็นสมาชิกเพื่อตัวตนของผู้ใช้งาน โดยมีการพิสูตรตัวตนและยืนยันความถูกต้องของข้อมูลจากหน่วยงานเจ้าของข้อมูล  ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการของภาครัฐ ข้อมูลเกี่ยวกับขั้นตอนและเอกสารที่จำเป็นในการใช้บริการต่าง ๆ รวมทั้งสอบถามข้อมูลเบื้องต้นกับหน่วยงานได้โดยตรง  มีระบบประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสาร การแจ้งสิทธิประโยชน์ หรือแจ้งเตือนภัย ไปยังประชาชนได้โดยตรงทั้งแบบรายบุคคล รายพื้นที่ หรือรายกลุ่มตามที่กำหนด  มีระบบบริหารจัดการระบบงานต่างๆ เช่น งานรับเรื่องร้องเรียนสามารถตราวจสอบติดตามเรื่อง สามารถส่งต่อเรื่องไปยังพื้นที่หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ระบบข้อมูลข่าวสารที่ประชาชนสามารถเข้าถึงได้และการแจ้งประชาชนสารมารถระบุบุคคล กลุ่ม หรือพื้นที่ได้  ระบบแสดงข้อมูลต่างๆ ของจังหวัดสามารถกำหนดสิทธฺในการเข้าถึงได้  ระบบคลังความรู้และสามารถใช้เป็นข้อมูลในการตอบคำถามเบื้องต้นของประชาชนได้โดยด้วยระบบ Chat Bot  ระบบเชื่อมโยงเพื่อเป็นช่องทางกลางที่จะติดต่อสื่อสารกับประชาชนโดยสามารถเชื่อมโยงข้อมูล และการแจ้งเตื่อนจากโครงการอื่นๆ ได้ เป็นต้น พร้อมทั้งสามารถเชื่อมโยงกับระบบอื่นๆ เพื่อใช้ในการบริหารจัดการภาครัฐได้ เช่น การเชื่อมโยงกับระบบสารบัญอิเล็กทรอนิกส์เพื่อแจ้งเตือนและรับหนังสือได้ เชื่อมโยงระบบลงทะเบียนการประชุมเพื่อแจ้งเตือนกำหนดการประชุม ส่งเอกสาร หรือรับรองรายงานการประชุม  ระบบติดตามการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐเพื่อแจ้งเตือนการดำเนินงานตามกรอบระยะเวลาที่กำหนด เป็นต้น
  • การพัฒนาระบบบริหารข้อมูล City Data Platform โดยจัดทำ Data Catalog รวบรวมชุดข้อมูล (Data Set) จากโครงการต่าง ข้อมูลพื้นฐาน ข้อมูลจากหน่วยงานต่างๆ และข้อมูลอื่นๆ ที่จำเป็น พร้อมรายละเอียดข้อมูล (Metadata)  จัดทำระบบ Data Exchange ให้มีการแลกเปลี่ยนกันตามมาตรฐานและเงื่อนไขที่กำหนด โดยการกำกับดูแลข้อมูล Data Governance ให้มีความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูล (Data Security) และรักษาความเป็นส่วนตัวของข้อมูลส่วนบุคคล (Data Privacy) ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA)
  • สร้างเครือข่ายส่วนราชการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้นำชุมชน ผู้ใหญ่บ้าน เพื่อให้การกระจายหรือถ่ายทอดข่าวสารไปถึงประชาชนในพื้นที่มากยิ่งขึ้น โดยมีหน้าที่กระจายข่าวที่สำคัญให้ประชาชนในพื้นที่รับรู้รับทราบอย่างทั่วถึง
  • อบรมให้ความรู้แก่เจ้าหน้าที่ในการใช้งานและดูแลระบบ พร้อมทั้งสร้างความรับรู้ให้หน่วยงานต่างๆ สามารถติดต่อสื่อสาร การประชาสัมพันธ์ และการแจ้งเตือนประชาชน ผ่านโครงการนี้ได้ และสามารถใช้เป็นแนวทางในการเชื่อมโยงระบบของตนเอง
  • แต่งตั้งคณะทำงานในการดำเนินโครงการ โดยมีผู้แทนจากสำนักงานจังหวัดสมุทรปราการรับผิดชอบดูแลระบบหลัก สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัด สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัด สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด โครงการชลประทาน สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัด และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับผิดชอบการแจ้งเตือนภัยและการให้ข้อมูลข่าวสาร อำเภอทุกอำเภอ องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาลนคร และเทศบาลเมืองรับผิดชอบการตอบคำถามและแก้ไขเรื่องร้องเรียนในพื้นที่ รวมทั้งภาคส่วนที่เกี่ยวข้องเป็นคณะทำงาน เพื่อกำกับติดตาม ประเมินผลและกำหนดแผนงานในการการดำเนินโครงการ และรายงานผลการดำเนินการให้คณะกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ (Smart City) จังหวัดสมุทรปราการทุก 6 เดือนเป็นอย่างน้อย
  • ประชาสัมพันธ์ สร้างความรับรู้ให้แก่ประชาชน และรณรงค์ชักชวนให้สมัครเข้าใช้งานโครงการ
  • การดูแลบำรุงรักษาสำนักงานจังหวัดสมุทรปราการจะเป็นผู้ดูแลระบบหลัก และจัดหางบประมาณเพื่อใช้ในการดำเนินงานโครงการ

ผลลัพธ์ที่คาดหวัง

ระยะสั้น

  • สามารถสื่อสาร ประชาสัมพันธ์ และแจ้งเตือนภัย ให้แก่ประชาชนได้ตรงกลุ่มเป้าหมายทั้งแบบรายบุคคล รายกลุ่ม หรือรายพื้นที่
  • ประชาชนสามารถร้องเรียนหรือเสนอแนะได้อย่างสะดวก ถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องส่งตรง และสามารถรับการแก้ไขหรือพัฒนาได้อย่างรวดเร็ว
  • ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการต่าง ๆ ของภาครัฐได้สะดวก

ระยะกลาง

  • ประชาชนสามารถรับทราบข่าวสารจากภาครัฐได้อย่างทั่วถึง
  • เรื่องร้องเรียนต่าง ๆ ได้รับการแก้ไขปัญหาอย่างรวดเร็ว
  • หน่วยงานต่าง ๆ สามารถพัฒนาระบบหรือแอพพลิเคชั่นเพื่อเชื่อมโยงกับระบบนี้เพิ่มขึ้น เพื่อให้บริการ แจ้งข้อมูลข่าวสาร หรือติดต่อสื่อสารกับประชาชน
  • ประชาชนรับรู้ถึงประโยชน์และการใช้งานระบบและมีการใช้งานเพิ่มขึ้น

ระยะยาว

  • เป็นช่องทางหลักในการแจ้งข่าวสาร ให้บริการต่าง ๆ รับเรื่องร้องเรียนและข้อเสนอของประชาชน
  • ประชาชนติดตามข้อมูลข่าวสาร และให้ความร่วมมือในการดำเนินการเรื่องต่าง ๆ เพิ่มขึ้น
  • ประชาชนในจังหวัดสมุทรปราการเป็นสมาชิกไม่น้อยกว่าร้อยละ 70

ผลกระทบในเชิงเศรษฐกิจและสังคม

  • ประชาชนมีความสะดวกในการติดต่อสื่อสาร ร้องเรียนหรือเสนอแนะกับภาครัฐ
  • ปัญหาเรื่องร้องเรียนต่าง ๆ ได้รับการแก้ไขอย่างรวดเร็ว
  • ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากภาครัฐที่ถูกต้องและรวดเร็ว สามารถปฏัติตามคำแนะนำต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม ลดปัญหาและความเสียหาย