โครงการ 21st Century Skill การพัฒนาทักษะที่จำเป็นสำหรับนักเรียน และครู
เทคโนโลยี/นวัตกรรม
- อุปกรณ์ Project –Based Learning Lab
- หลักสูตร Project–Based Learning Online ผ่าน E-Learning
- ระบบ LMS
เป้าหมาย
- พัฒนาครูให้สามารถสอนนักเรียนให้มีทักษะในศตวรรษที่ 21
- นักเรียนมีทักษะในศตวรรษที่ 21
- โรงเรียนมีอุปกรณ์ที่เอื้อต่อการจัดการเรียนการสอนในลักษณะ Project-Based Learning
ตัวชี้วัด
- ครูระดับมัธยมในสังกัด สพฐ. 25 โรงเรียน ไม่น้อยกว่า 100 คน ได้รับการพัฒนาให้สามารถสอนนักเรียนให้มีทักษะในศตวรรษที่ 21
- นักเรียนมัธยมในสังกัด สพฐ. 25 โรงเรียนทุกระดับขั้น ได้รับการเรียนรู้ทักษะในศตวรรษที่ 21 ทุกคน ในลักษณะ Project-Based Learning
- โรงเรียนมัธยมในสังกัด สพฐ. 25 มีนักเรียนเข้าใช้งานอุปกรณ์ Project-Based Learning โดยมีนักเรียนเข้าใช้งานไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 ของจำนวนนักเรียน 2 ปี
งบประมาณ 45,000,000 บาท
รายละเอียดโครงการ
·ความสอดคล้องกับโจทย์ปัญหาเมือง และกลุ่มเป้าหมายผู้รับประโยชน์
การดำรงชีวิตได้อย่างมีเสถียรภาพในโลกปัจจุบันและอนาคต ทุกคนจะต้องมีความสามารถในการเรียนรู้เรื่องต่าง ๆ ได้ด้วยตนเอง ซึ่งต้องยอมรับว่า ความรู้ที่เราเรียนมาจากโรงเรียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระดับ ปวช. ปวส. และปริญญาตรี จะมีอายุการใช้งานได้น้อยลง (ล้าสมัยเร็วขึ้น) เราทุกคนต้องแสวงหาโอกาสในการเรียนรู้ในลักษณะ Reskill และ Upskill เพื่อให้เรามีความรู้ความสามารถที่ถูกต้องและทันสมัยตลอดเวลา ในจังหวัดสมุทรปราการก็มีประชากรจำนวนมาก อีกทั้งยังมีประชากรแฝงมาด้วยเช่นกัน การพัฒนาความรู้และทักษะต่าง ๆ ให้แก่ทุกคนเป็นไปได้ยาก ในการประชุมหารือการพัฒนาเมืองอัจฉริยะในด้านพลเมืองอัจฉริยะนี้ จึงมีแนวทางในการเปิดโอกาสและช่องทางในการพัฒนาความรู้ของประชาชนทุกคนในรูปแบบสื่อการเรียนรู้ออนไลน์ที่เอื้อต่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต เน้นการเรียนรู้ทักษะและความรู้ที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 ที่ทันสมัยอยู่ตลอดเวลา และมีแนวคิดที่จะพัฒนาความรู้แก่ประชาชนให้ครอบคลุมมากที่สุด โดยให้ความสำคัญพัฒนาบุคลากรทางการศึกษาให้มีความรู้ที่ลึกซึ้งสามารถนำไปสอนให้แก่นักเรียนได้ และเมื่อนักเรียนได้รับการพัฒนาความรู้ที่เหมาะสมแล้วก็จะสามารถถ่ายทอดความรู้ไปสู่ผู้ปกครองและคนในชุมชนต่อได้ ด้วยแนวคิดเช่นนี้จะทำให้เกิดการกระจายการพัฒนาความรู้เป็นวงกว้าง และได้เห็นว่าการพัฒนาครูและนักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาจะเป็นประโยชน์มากที่สุด เนื่องจากนักเรียนในระดับนี้ได้รับการเรียนรู้ขั้นพื้นฐานมาพอสมควรและมีความสามารถที่จะนำไปต่อยอด สื่อสาร หรือถ่ายทอดต่อไปให้แก่ผู้ปกครองหรือคนในชุมชนได้ อีกทั้งนักเรียนที่ได้รับการพัฒนาความรู้พื้นฐานที่จำเป็นและได้ลงมือปฏิบัติในการเรียนรู้เทคโนโลยีต่าง ๆ จะสามารถค้นพบความถนัดหรือความสนใจของตนเองได้ดียิ่งขึ้น สามารถวางแผนในการศึกษาและการประกอบอาชีพได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังต้องพัฒนาระบบเรียนการสอนที่ทันสมัยสามารถประเมินผลนักเรียนและสนับสนุนครูในการปฏิบัติหน้าที่ด้วย ซึ่งในจังหวัดสมุทรปราการมีโรงเรียนมัธยมในสังกัด สพฐ. อยู่ทั้งหมด 25 โรงเรียน จึงเห็นควรให้โรงเรียนทั้งหมด 25 แห่งนี้ เป็นต้นแบบในการพัฒนา
ทักษะและความรู้ที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 ประกอบด้วยองค์ประกอบที่สำคัญ 3 ด้าน คือ
- ทักษะการใช้ภาษาและทักษะดิจิทัลกับชีวิตวิถีใหม่ (Language and Digital Literacy)
- ทักษะ 3C3G ตามหลักสูตรฐานสมรรถนะ 6 ด้าน
- ทักษะชีวิตและทักษะอาชีพในศตวรรษที่ 21
ทักษะการใช้ภาษาและทักษะดิจิทัลกับชีวิตวิถีใหม่ (Language and Digital Literacy)
ในปัจจุบันความสามารถในการใช้ภาษาที่สอง (ภาษาอังกฤษ) และดิจิทัลในชีวิตประจำวัน (Language and Digital Literacy) ถือว่ามีความสำคัญ มีความจำเป็นอย่างยิ่ง สำหรับสำหรับนักเรียน ครู และประชาชนทั่วไป ที่จะต้องเรียนรู้ เพื่อเป็นพื้นฐานในการเรียนรู้เรื่องต่าง ๆ และสามารถนำไปต่อยอดได้ในอนาคต ความสำคัญ ของภาษาอังกฤษ กับการติดต่อสื่อสาร กับการศึกษา กับการท่องเที่ยว และกับอาชีพ ภาษาอังกฤษถือเป็นภาษาที่มีบทบาทสำคัญและมีผลกระทบต่อประชากรไทยในหลากหลายด้าน ความสำคัญของภาษาอังกฤษที่มีผลต่อด้านต่าง ๆ ที่ใกล้ตัวและทำให้เห็นภาพชัดเจน เพื่อให้เห็นว่าเพราะเหตุใดเราจึงควรเรียนรู้และเห็นถึงความสำคัญของภาษาอังกฤษมากยิ่งขึ้น
ทักษะดิจิทัลกับชีวิตวิถีใหม่อินเทอร์เน็ตมีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงสู่ชีวิตวิถีใหม่ โดยเมื่อผ่านปี ค.ศ.2000 ก้าวสู่ศตวรรษที่ 21 ทักษะดิจิทัลเป็นส่วนหนึ่งของทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 มีส่วนสำคัญต่อวิถีการดำเนินชีวิตอย่างมาก เมื่อสิ่งแวดล้อมทางดิจิทัลทำให้รูปแบบการเรียนรู้เปลี่ยน กระบวนการทำงานและวิถีชีวิตของผู้คนจึงเปลี่ยนตาม เรามีกระบวนการใหม่ ๆ ที่เกี่ยวกับการใช้ดิจิทัลเกิดขึ้นมากมาย การซื้อขายสินค้าแบบออนไลน์ การใช้บริการโครงการต่าง ๆ ของรัฐบาลแบบออนไลน์ การทำงานที่บ้าน การเรียนออนไลน์ การใช้จ่ายเงินแบบดิจิทัล การสื่อสารพูดคุยผ่านเทคโนโลยีที่ทำให้เกิดสื่อสังคม การรวมสังคมจึงแตกต่างจากเมื่อก่อน เราใช้กระบวนการทางดิจิทัลช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ ทักษะการใช้ดิจิทัลจึงเป็นทักษะพื้นฐานที่มีความสำคัญ
ที่ต้องมีความรู้ความเข้าใจในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Literacy) ที่ต้องมีความเข้าใจและใช้ประโยชน์ข้อมูลที่จำเป็นต่อการใช้ในชีวิตประจำวัน ทักษะที่จำเป็นอีกประการหนึ่งคือการเรียนได้ด้วยตนเอง การเรียนรู้ ที่เน้นตัวเองเป็นศูนย์กลาง เข้าใจ วางแผน และเรียนศาสตร์ที่ตนเองสนใจ กระตือรือร้น เข้าเรียนเอง
และทำโครงการของตัวเองมากกว่าจะนั่งเฉยรอให้ครูเป็นผู้ป้อนข้อมูลให้
ทักษะ 3C3G ตามหลักสูตรฐานสมรรถนะ 6 ด้าน
ตามที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น ทักษะ 3C3Gตามหลักสูตรฐานสมรรถนะ 6 ด้านอันประกอบด้วย 1) การจัดการตนเองอย่างมีสุขภาวะ 2) การคิดขั้นสูงและการเรียนรู้ 3) การสื่อสารด้วยภาษา 4) การจัดการและการทำงานเป็นทีม 5) การเป็นพลเมืองที่เข้มแข็ง
6) การอยู่ร่วมกับธรรมชาติและวิทยาการอย่างยั่งยืน เป็นทักษะที่สำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับเด็กไทย
ที่จะเป็นผู้ใหญ่ไทย ในอนาคต ซึ่งทักษะ 3G3C สามารถฝึกฝนได้ยากจากการเรียนวิชาพื้นฐานในห้องเรียนธรรมดา ที่ส่วนใหญ่ จะเป็นการเรียนภาคทฤษฎี แต่สำหรับการเรียนแบบมีโอกาสได้ลงมือปฏิบัติ ทดลอง การได้คิดวิเคราะห์ การเอาใจใส่สิ่งแวดล้อม รวมถึงสภาวะแวดล้อมของจังหวัด การมีศูนย์การจัดการเรียนรู้ที่ประกอบด้วยอุปกรณ์ทางดิจิทัลที่หลากหลายที่นักเรียนจะได้เรียนรู้ตามหลักสูตรฐานสมรรถนะ 6 ด้าน
อาทิเช่น เครื่องพิมพ์ 3D อุปกรณ์ IoT เซ็นเซอร์วัดสภาพน้ำ อากาศ โดรน และ Device ที่เหมาะสมต่อการเรียนรู้ต่าง ๆ จะเป็นห้องที่คุณครูทุกสาระการเรียนรู้ (ไม่เฉพาะครูเทคโนโลยี) สามารถนำนักเรียนเข้ามาประยุกต์ใช้เครื่องมือในห้องดังกล่าว เพื่อส่งเสริมการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เรียนรู้ในลักษณะ Project-Based Learning โดยอิงกับความรู้ที่ได้เรียนมาแล้วใน แต่ละสาระ คุณครูจะสามารถกระตุ้นให้นักเรียนได้ฝึกลงมือปฏิบัติ คิดวิเคราะห์ แสดงออกในการใช้ทักษะทั้ง 4 ได้โดยง่าย และได้ผลกุญแจหลักแห่งความสำเร็จคือ คุณครูทุกท่านจะต้องเข้าใจและเห็นความสำคัญ ของการสร้างทักษะ 3C3G ตามหลักสูตรฐานสมรรถนะ 6 ด้าน นี้ให้กับนักเรียน ตลอดจนมีแนวทาง ในการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ที่จะ ทำให้นักเรียนได้ฝึกทักษะทั้ง 6 ด้าน ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะเสริมสร้างวิธีการจัดการเรียนรู้ให้มีคุณภาพสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง กับการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ตามหลักสูตรฐานสมรรถนะ 6 ด้าน
ทักษะชีวิตและทักษะอาชีพในศตวรรษที่ 21
ในปัจจุบันมีอาชีพที่เกิดขึ้นใหม่มากมาย ที่ไม่ได้มีการเรียนการสอนอยู่ในหลักสูตรขั้นพื้นฐาน และยังไม่มีการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต ให้ความสำคัญกับการพัฒนาทุนมนุษย์ การใช้และการต่อยอดองค์ความรู้ การให้ความสำคัญกับการเปลี่ยนแปลงของการเรียนรู้อย่างรวดเร็ว จึงต้องมีบทเรียน e-Learning ของวิชาที่เกี่ยวข้องกับทักษะชีวิต และทักษะอาชีพในศตวรรษที่ 21 รวมถึงวิชาอื่น ๆ ที่จำเป็นสำหรับครูและประชาชน ให้สามารถเข้ามาเรียนรู้ในลักษณะ “เมื่อใดก็ได้ ที่ไหนก็ได้”นอกเหนือจากเครื่องมือสนับสนุนทางด้านการเรียนรู้แล้ว ยังมีสิ่งที่คุณครูต้องการเพื่อเป็นการพัฒนาเพิ่มศักยภาพในการทำงาน นั่นก็คือ สนับสนุนการจัดทำวิทยฐานะ ทั้ง ว.21 และ ว.PA ซึ่งการสนับสนุนคุณครูที่กล่าวมาข้างต้น ตลอดจนการจัดเตรียมให้คุณครูมีความพร้อม จะเป็นตัวช่วยให้คุณครูทุกคนสามารถผ่านเกณฑ์การประเมินวิทยฐานะได้โดยง่าย สามารถใช้กำลังกายและกำลังสมองมาทุ่มเทกับการจัดการเรียนการสอนได้อย่างเต็มที่
วิธีการ ขั้นตอนการดำเนินงาน ระยะเวลาดำเนินการ
- พัฒนาระบบบริหารจัดการเรียนการสอน ระบบติดตามและประเมินผล ซึ่งสามารถประเมินผลการเรียนของนักเรียนในด้านต่างๆ ได้เป็นรายบุคคล ครูผู้สอนตลอดจนผู้บริหารสามารถติดตามผลการเรียนได้ทุกระดับ พร้อมทั้งจัดทำหลักสูตรการเรียนรู้ทักษะชีวิตและทักษะอาชีพในศตวรรษที่ 21 และสือการเรียนในรูปแบบออนไลน์ให้นักเรียนสามารถศึกษาได้ด้วยตอนเอง
- โรงเรียนทั้ง 25 แห่ง สำรวจสถานที่หรือห้องเรียน และติดตั้งอุปกรณ์การเรียนการสอนในรูปแบบ Project-Based Learning Lab เช่น การเรียนรู้ระบบ Robot แขนกล การเรียนรู้ระบบควบคุมอุตสาหกรรม PLC การใช้เครื่องพิมพ์ 3 มิติ การเรียนรู้เกียวกับ IOT การเรียนรู้การเขียนโปรแกรมสมัยใหม่หรือ Codeing และอื่นๆ ที่สอดคล้องกับทักษะชีวิตและทักษะอาชีพในศตวรรษที่ 21 เพื่อให้นักศึกษาได้ลงมือทำด้วยตนเอง นำไปต่อยอดพัฒนาความรู้และค้นหาความสนใจใช้ในการตัดสินใจศึกษาต่อในด้านที่เหมาะสมและเป็นทักษะพื้นฐานในการประกอบอาชีพ
- จัดอบรมทักษะต่าง ๆ ให้กับบุคลากรทางการศึกษาระดับมัธยมศึกษาในสังกัด สพฐ. ทั้งหมดในจังหวัดจำนวน 25 โรงเรียน เพื่อให้สามารถถ่ายทอดทักษะชีวิตและทักษะอาชีพในศตวรรษที่ 21 ไปยังนักเรียนได้ รวมทั้งควบคุม ดูแล และสอนการใช้อุปกรณ์การเรียนในรูปแบบ Project-Based
- การติดตามและประเมิณผล ผู้บริหารสถานศึกษารวมทั้งสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดสามารถติดตามและประเมิณผลการเรียนการสอนผ่านระบบบริหารจัดการเรียนการสอนได้ตลอดเวลา รวมทั้งพัฒนาหลักสูตรให้เหมาะสมสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน และรายงานผลการดำเนินงานให้คณะกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ (Smart City) จังหวัดสมุทรปราการทุก 6 เดือนเป็นอย่างน้อย
- การบำรุงรักษา สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดจัดหางบประมาณในการบำรุงรักษาและพัฒนระบบซอฟแวร์หลัก การติดตามประเมิณผล การพัฒนาหลักสูตร และอบรมบุคลากรทางการศึกษา โรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการรับผิดอุปกรณ์การเรียนการสอนและศูนย์เรียนรู้
ผลลัพธ์ที่คาดหวัง
ระยะสั้น
- ครูมีความสามารถในการสอนนักเรียนให้มีทักษะในศตวรรษที่ 21
- นักเรียนได้เรียนรู้ในลักษณะ Project-Based Learning และมีทักษะในศตวรรษที่ 21
- โรงเรียนมีห้องเรียนและอุปกรณ์ที่เอื้อต่อการจัดการเรียนการสอนในลักษณะ Project-Based Learning
ระยะกลาง
- นักเรียนสามารถค้นหาความถนัด และความสนใจของตนเอง สามารถวางแผนการศึกษา และการทำงานในอนาคตได้ดียิ่งขึ้น
- นักเรียนมีความรู้และทักษะที่จำเป็น สามารถถ่ายทอดความรู้ให้แก่ผู้ปกครอง
และคนในชุมชน ทำให้ชุมชนเกิดการพัฒนา
ระยะยาว
- ชุมชนและสังคมเกิดการพัฒนาจากการถ่ายทอดความรู้ของนักเรียนสู่ชุมชน
- นักเรียนเป็นที่ต้องการของผู้ประกอบการและตลาดแรงงาน
- ผู้ประกอบการมีแรงงานที่มีคุณภาพ
ผลกระทบในเชิงเศรษฐกิจและสังคม
- บุคคลากรทางการศึกษามีความรู้และทักษะที่ตอบสนองความต้องการของภาคอุตสาหกรรมและสามารถถ่ายทอดให้เยาวชนมีความรู้เพื่อนำไปต่อยอดและแก้ปัญหาได้ด้วยตนเอง
- ชุมชนและสังคมเกิดการพัฒนาจากการถ่ายทอดความรู้ของนักเรียนสู่ชุมชน
- อัตราการว่างงานในจังหวัดสมุทรปราการลดลง
- ประชาชนมีรายได้เพิ่มขึ้น