นายเจนเจตน์ เจนนาวิน รองผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรปราการ เป็นประธานการประชุมโครงการขับเคลื่อนปฏิบัติการหมู่บ้าน / ชุมชนสีฟ้า “หมู่บ้าน/ชุมชนนี้ ไม่มีโควิด – 19” จังหวัดสมุทรปราการ
วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2565 เวลา 10.00 น. ภายใต้การอำนวยการของ นายวันชัย คงเกษม ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรปราการ โดย นายเจนเจตน์ เจนนาวิน รองผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรปราการ เป็นประธานการประชุมโครงการขับเคลื่อนปฏิบัติการหมู่บ้าน / ชุมชนสีฟ้า “หมู่บ้าน/ชุมชนนี้ ไม่มีโควิด – 19” จังหวัดสมุทรปราการ ณ ห้องประชุม 2 ศาลากลางจังหวัดสมุทรปราการ โดยมี นายประทีป นทีทวีวัฒน์ ปลัดจังหวัดสมุทรปราการ และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุมโดยพร้อมเพรียง
โดยโครงการขับเคลื่อนปฏิบัติการหมู่บ้าน / ชุมชนสีฟ้า “หมู่บ้าน/ชุมชนนี้ ไม่มีโควิด – 19” จังหวัดสมุทรปราการ มีวัตถุประสงค์ ดังนี้
1. เพื่อสร้างความตระหนักรู้ แต่ระดับหมู่บ้าน และตำบลให้มีความพร้อมในการรับมือกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19
2. เพื่อสร้างความร่วมมือจากผู้นำชุมชน ผู้ปกครองท้องที่ บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และประชาชนทุกภาคส่วน ได้มีส่วนร่วมในการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19
3. บริหารจัดการสถานการณ์โควิด-19 แบบประชาชนมีส่วนร่วม และเป็นพื้นที่ปลอดภัย
4. นำผลการปฎิบัติที่ได้มาใช้ในการบริหารสถานการณ์ของโรคโควิด-19 เขตท้องที่อำเภอและจังหวัดมีการดำเนินการ ดังนี้
(1) แบ่งกลุ่มบ้านเพื่อช่วยกันกำกับดูแล กลุ่มบ้านละ 10-15 ครัวเรือน มีระบบการติดตามผู้เดินทางเข้าหมู่บ้านตามมาตรการ และมีการมอบหมายเป็นลายลักษณ์อักษร
(2) ดำเนินการประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้ในการป้องกันตนเอง การฉีดวัคซีนป้องกันโรค และดำเนินการตามมาตรการป้องกันการติดเชื้ออย่างต่อเนื่อง อย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง และมีการสวมหน้ากากผ้าหรือหน้ากากอนามัย 100%
(3) มีการกำหนดกฎกติกาของหมู่บ้าน/ชุมชนร่วมกันในการดำเนินการตามมาตรการต่างๆ เพื่อให้เกิดการป้องกันที่ยั่งยืน
(4) มีระบบการคัดกรองบุคคลเข้า-ออกชุมชน/หมู่บ้าน โดยบุคคลซึ่งเดินทางมาจากนอกพื้นที่จะต้องดำเนินการตามมาตรการคัดกรองการเข้า-ออก พื้นที่อย่างเคร่งครัด มีเครื่องมือชุดตรวจ ATK สำหรับตรวจบุคคลที่เดินทางกลับเข้ามาในหมู่บ้าน/ชุมชน และเครื่องวัดอุณหภูมิให้ทาง อสม.ตรวจวัดทุกครัวเรือนในหมู่บ้าน
(5) งดการจัดกิจกรรมที่เป็นการรวมกลุ่มตามประกาศจังหวัดสมุทรปราการ หากมีความจำเป็นจะต้องขออนุญาตและได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด และมีมาตรการในการป้องกันอย่างชัดเจน
(6) มาตรการส่งเสริม เช่น การรณรงค์อบรมให้ความรู้หรือส่งเสริมปลูกพืชสมุนไพร เพื่อใช้สมุนไพรในการป้องกันโรค, ส่งเสริมให้ประชาชนร่วมมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหา, เยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบ โดยมีกรอบยุทธวิธีแก้ไขสถานการณ์เริ่มจากการกำหนดสถานการณ์ในระดับหมู่บ้าน/ชุมชน, โรงงาน, สถานประกอบการ มีมาตรการกักตัวผู้ป่วยในโรงงาน
ประธานเน้นย้ำให้อำเภอทุกอำเภอ เทศบาลนคร และเทศบาลเมืองทุกแห่ง ให้ความสำคัญในการขับเคลื่อนโครงการดังกล่าว โดยกำหนดรายงานผลทุกวัน ภายในเวลา 15.00 น. เพื่อให้โครงการฯ บรรลุวัตถุประสงค์ คือ ในหมู่บ้าน/ชุมชน ไม่มีผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายใหม่ ในระยะเวลา 14 วัน