ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรปราการ เป็นประธานในพิธีเปิดการจัดงานวันดินโลก (World Soil Day) จังหวัดสมุทรปราการ ปี 2564
เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2564 เวลา 09.00 น.
นายวันชัย คงเกษม ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรปราการ เป็นประธานในพิธีเปิดการจัดงานวันดินโลก (World Soil Day) จังหวัดสมุทรปราการ ปี 2564 Halt soil salinization, boost soil productivity : พิชิตดินเค็ม เติมเต็มผลผลิต สร้างชีวิตเกษตรกร ณ สถานีพัฒนาที่ดินสมุทรปราการ ตำบลบางปลา อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ โดยมี พ.อ. ยุทธพล ประทีปอุษานนท์ รอง.ผอ.รมน.จังหวัด ส.ป. นายจำนงค์ พร้อมมูล ผู้อำนวยการสถานีพัฒนาที่ดินสมุทรปราการ หัวหน้าส่วนราชการ เจ้าหน้าที่ และประชาชนเข้าร่วม
สหภาพวิทยาศาสตร์ทางดินนานาชาติ (IUSS) องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) และองค์การสหประชาชาติ (UN) ได้ยกย่อง และมีฉันทานุมัติ ให้เป็น วันที่ 5 ธันวาคม เป็น “วันดินโลก” ในระดับสากล เพื่อเชิดชูพระอัจฉริยภาพด้านการอนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากรดินของพระองค์ฯ ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2557 เป็นต้นมา เพราะ “ดินและที่ดิน” เป็นทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญ เป็นแหล่งสำคัญของ ปัจจัย 4 หากปล่อยดินให้เสื่อมโทรม จะส่งผลต่อคุณภาพ และกำลังผลิตของดิน กระทบต่อความมั่นคงทางอาหารของมนุษย์ ทั้งในปัจจุบันและอนาคต เพื่อเฉลิมพระเกียรติฯ ที่พระองค์ ได้รับการทูลเกล้าถวายรางวัล นักวิทยาศาสตร์ดินเพื่อมนุษยธรรม โดยจัดแสดงนิทรรศการเกี่ยวกับ ความเป็นมาของวันดินโลก พระราชกรณียกิจ โครงการตามแนวพระราชดำริด้านต่างๆ กลุ่มสมัชชาความร่วมมือทรัพยากรดินโลก ได้กำหนดจัดงานวันดินโลกเป็นประจำทุกปี
โดยเน้นในหัวข้อที่ต้องการรณรงค์หรือสร้างการรับรู้เพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนที่ตรงกับประเด็นปัญหาที่ต้องแก้ไข สำหรับในปี 2564 กำหนดหัวข้อ Halt soil salinization, boost soil productivity : พิชิตดินเค็ม เติมเต็มผลผลิต สร้างชีวิตเกษตรกร ซึ่งนอกเหนือจากปัญหาดินเค็มแล้ว ยังเน้นความสำคัญของการมีส่วนร่วมขององค์กรและเครือข่ายการเรียนรู้ ผ่านนวัตกรรม วิธีการจัดการดินปัญหา ฐานเรียนรู้การจัดการดิน โดยเฉพาะดินเปรี้ยวและดินเค็ม ซึ่งสอดคล้องกับพื้นที่ในจังหวัดสมุทรปราการ การอนุรักษ์ดินและน้ำเพื่อป้องกันและ ลดการชะล้างพังทลายของดิน โดยมีการสนับสนุนจากทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐ เอกชนชุมชน และประชาชน ให้เห็นความสำคัญในการทำให้ดินมีความอุดมสมบูรณ์ ก่อให้เกิดระบบนิเวศน์ที่ดีมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกับการดำรงอยู่ของมนุษย์และสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ ตลอดจนเกิดสิ่งแวดล้อมที่ดีในรูปแบบการขับเคลื่อนเกษตรสีเขียว หรือ บีซีจี (BCG) ต่อไป