นายเจนเจตน์ เจนนาวิน รองผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรปราการ เป็นประธานการแถลงข่าวต่อสื่อมวลชน กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)ของศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จังหวัดสมุทรปราการ
เมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2565 เวลา 15.30 น.
นายวันชัย คงเกษม ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรปราการ ได้มอบให้นายเจนเจตน์ เจนนาวิน รองผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรปราการ เป็นประธานการแถลงข่าวต่อสื่อมวลชน กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)ของศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จังหวัดสมุทรปราการ เรื่อง สถานการณ์และการดำเนินการแก้ไขปัญหาโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จังหวัดสมุทรปราการ ครั้งที่ 143 ประจำวันพุธที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2565 ณ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสมุทรปราการ โดยมีนางเฉลิมลักขณ์ วิจิตรานนท์
รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดสมุทรปราการ ร่วมแถลงข่าวด้วย
จังหวัดสมุทรปราการ วันนี้มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ระลอกใหม่ (ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2565) 886 ราย (ติดเชื้อในจังหวัด 758 ราย รับส่งต่อเพื่อรับรักษา 128 ราย) ผู้ติดเชื้อระลอกใหม่สะสม จำนวน 59,330 ราย
รักษาหายสะสม 57,334 ราย กำลังรักษาอยู่ 9,537 ราย ผู้เสียชีวิตสะสม 67 ราย
สถานการณ์ทั่วโลก มีผู้ติดเชื้อสะสมจำนวน 462,012,958 ราย รักษาหายแล้ว 395,896,086 ราย เสียชีวิต 6,073,733 ราย ประเทศที่พบมาก 5 ลำดับแรกสะสมรวมย้อนหลัง 7 วัน คือ เกาหลีใต้ เยอรมนี เวียดนาม ฝรั่งเศส และสหราชอาณาจักร ตามลำดับ
สถานการณ์ในประเทศไทย (ข้อมูล ณ วันที่ 16 มีนาคม 2565) ผู้ติดเชื้อระลอกใหม่ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2565 พบผู้ติดเชื้อรายใหม่ จำนวน 23,945 ราย (ติดเชื้อภายในประเทศ 23,507 ราย ติดเชื้อในการตรวจการคัดกรองเชิงรุก 235 ราย ผู้เดินทางจากต่างประเทศ เข้าสถานที่กักกันของรัฐ 48 ราย และจากเรือนจำ/ที่ต้องขัง 155 ราย) ทำให้มีผู้ป่วยยืนยันสะสม 1,027,207 ราย รักษาหายแล้ว 836,258 ราย และเสียชีวิตสะสม 2,220 ราย
ผลการดำเนินการฉีดวัคซีนโควิด 19 ของจังหวัดสมุทรปราการ มียอดผู้ได้รับการฉีดวัคซีนโควิด 19
จำนวน 1,669,315 คน ซึ่งมีประชาชนเป้าหมายในจังหวัดสมุทรปราการ จำนวน 1,781,467 คน ซึ่งคิดเป็น 94.73% ของประชากรทั้งหมดของจังหวัดสมุทรปราการ
รายงานสถานการณ์เตียงรองรับผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของจังหวัดสมุทรปราการ ทั้งโรงพยาบาลภาครัฐและภาคเอกชนจังหวัดสมุทรปราการ แยกตามประเภทเตียง ดังนี้
1.เตียงผู้ป่วยหนัก จำนวน 86 เตียง ใช้ไป 23 เตียง คงเหลือ 63 เตียง
2.เตียงผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ จำนวน 304 เตียง ใช้ไป 71 เตียง คงเหลือ 233 เตียง
3.เตียงผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรง จำนวน 2,726 เตียง ใช้ไป 1,476 เตียง คงเหลือ 1,250 เตียง
4.หอผู้ป่วยเฉพาะกิจ (Hospitel) จำนวน 8,000 เตียง ใช้ไป 4,555 เตียง คงเหลือ 3,445 เตียง
สรุปสถานการณ์จำนวนเตียงในสถานบริการภาครัฐและเอกชนรองรับสถานการณ์โควิด 19 จำนวนทั้งสิ้น 11,116 เตียง ใช้ไป 6,125 เตียง คงเหลือ 4,991 เตียง
ข้อแนะนำในการจัดบริการอาหารกล่อง ให้ปลอดภัยจากโควิด – 19
1. ร้านอาหารผ่านการรับรอง หรือ การประเมินจากหน่วยงานราชการ เช่น Clean Food Good Taste COVID Free Setting
2. ผู้ปรุง ประกอบอาหาร สวมผ้ากันเปื้อน หมวกคลุมผม สวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา และหมั่นล้างมือให้สะอาดด้วยน้ำและสบู่
3. อาหารปรุงสุกใหม่ ไม่เกิน 2 – 4 ชั่วโมง หลักเลี่ยงอาหารบูดเสียง่าย เช่น ยำ แกงกะทิ ควรเป็นเป็นอาหารประเภททอด เช่น หมูทอด และลด หวาน มัน เค็ม เพิ่ม ผัก ผลไม้
4. แยกบรรจุกับข้าวออกจากข้าวและภาชนะที่ทำจากวัสดุธรรมชาติและใช้ภาชนะที่ทำจากวัสดุธรรมชาติย่อยสลายได้
5. รถขนส่งสะอาด อาหารมีการปกปิด เวลาการขนส่งไปควรเกิน 30 นาที จุดรับ-ส่งอาหาร ต้องวางสูงจากพื้น อย่างน้อย 60 เซนติเมตร
6.เว้นระยะห่างในการรับประทานอาหาร
ขอเชิญชวนชาวสมุทรปราการร่วมใจ ปฏิบัติตามมาตรการ New Normal : DMHTTA เพื่อปลอดภัยจาก COVID-19
“เว้นระยะห่าง สวม Mask ล้างมือบ่อยๆ หลีกเลี่ยงแออัด เคร่งครัดไทยชนะ หมอชนะ”