สมุทรปราการสมาร์ทซิตี้ – โครงการสนับสนุนและประชาสัมพันธ์ด้านการท่องเที่ยว สินค้า และบริการ

โครงการสนับสนุนและประชาสัมพันธ์ด้านการท่องเที่ยว สินค้า และบริการ

เทคโนโลยี/นวัตกรรม   

  • ระบบแผนที่อัจฉริยะในรูปแบบ Digital Live Map
  • ระบบติดตามและแจ้งเตือนข้อมูลสำคัญเมื่ออยู่ในพื้นที่ที่กำหนด

เป้าหมาย

  • จำนวนนักท่องเที่ยวที่เข้ามาในจังหวัด และรายได้จาการท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น
  • ยอดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชนเพิ่มขึ้น
  • สถานที่สำคัญแหล่งท่องเที่ยว สินค้า และบริการของจังหวัดสมุทรปราการ
  • เป็นที่รู้จักวงกว้างสู่ระดับสากล
  • สามารถบริหารจัดการและติดตามดำเนินโครงการเชิงพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ตัวชี้วัด

  • มีจำนวนนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 5 ต่อปี
  • มีรายได้จากการท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 ต่อปี
  • มีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยของนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 ต่อไป 2 ปี

งบประมาณ 8,900,000 บาท

 

รายละเอียดโครงการ

ความสอดคล้องกับโจทย์ปัญหาเมือง และกลุ่มเป้าหมายผู้รับประโยชน์

ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561 – 2580) กำหนดกลยุทธ์ที่สำคัญ คือ การสร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศโดยมุ่งเน้นการพัฒนาภาคการผลิตและบริการให้มีความสามารถในการแข่งขันเกิดความยั่งยืนสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 – 2564) ยุทธศาสตร์ที่ 3 การสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจและแข่งขันได้อย่างยั่งยืนอีกทั้งรัฐบาล มีนโยบายลดความเหลื่อมล้ำสร้างรายได้และความเจริญความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจให้ครอบคลุมทั้งประเทศโดยให้ภาคเอกชนและภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมดำเนินการร่วมกับภาครัฐเพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์ของประเทศในเรื่อง มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เชื่อมโยงกับพันธกิจกระทรวงมหาดไทย ข้อ 4 เสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนและเศรษฐกิจฐานราก โดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ภายใต้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และสอดคล้องกับประเด็นการพัฒนาของจังหวัดสมุทรปราการ ประเด็นการพัฒนาที่ 4 ส่งเสริมกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรม โดยการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว สินค้า การบริการและประชาสัมพันธ์ให้เป็นที่รู้จักและประทับใจของนักท่องเที่ยวทุกกลุ่มเป้าหมาย (Tourism for All)ง

จังหวัดสมุทรปราการมีอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรม ประเพณีท้องถิ่น แหล่งท่องเที่ยวชุมชนใหม่ที่มีศักยภาพ และแหล่งท่องเที่ยวชุมชนที่ยังมีความพร้อมที่จะพัฒนา รวมทั้งมี สถานที่สำคัญ แหล่งพักผ่อนหย่อนใจ ร้านอาหาร อีกหลายแห่ง แต่ยังขาดแหล่งข้อมูลและการประชาสัมพันธ์ให้เป็นที่รู้จัก และเป็นจังหวัดปริมณฑลที่อยู่ใกล้กับกรุงเทพมหานครซึ่งมีผู้คนอาศัยจำนวนมาก หากต้องการพักผ่อนทานอาหารก็ใช้เวลาเดินทางเพียงไม่นาน หากสามารถพัฒนาและประชาสัมพันธ์เส้นทางท่องเที่ยวในระยะสั้นได้ เช่น การเดินทางท่องเที่ยวในวันเดียว (One day trip) และการท่องเที่ยวแบบ 2 วัน พัก 1 คืน เป็นต้น อีกทั้งยังมีการจัดกิจกรรม ประเภณี เทศการ นิทรรศการ และการจัดจำหน่ายสินค้าต่างๆ อยู่เป็นประจำ เช่น ประเพณีสงการณ์พระประแดง ประเพณีรับบัว ประเพณีลอยกระธง การจัดตลาดสินค้าราคาประหยัดลดค่าครองชีพให้กับประชาชนตามสถานการณ์ การจำหน่ายสินค้า OTOP เป็นต้น ข้อมูลจากกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ในปี พ.ศ. 2564 จังหวัดสมุทรปราการมีรายได้จากการท่องเที่ยว 690 ล้านบาท ซึ่งรายได้ส่วนใหญ่มาจากนักท่องเที่ยวชาวไทย จำนวน 643.29 ล้าน และมีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยของนักท่องเที่ยว 1,991.66 บาท/คน/วัน จากจำนวนนักท่องเที่ยวทั้งหมด 1,197,866 คน ซึ่งหากสามารถประชาสัมพันธ์ไปในทิศทางเดียวกันก็จะสามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวที่เข้ามาในจังหวัดและมีการใช้จ่ายเงินเพิ่มขึ้น ทำให้สามรถสร้างอาชีพ สร้างรายได้ในชุมชนเพิ่มขึ้น ขับเคลื่อนเศรษฐกิจในภาพรวมของจังหวัด โดยนำเทคโนโลยีสื่อดิจิทัลที่เป็นหนึ่งในเครื่องมือที่สนับสนุนและส่งเสริมการท่องเที่ยว สินค้า และบริการของจังหวัดสมุทรปราการ อันเป็นการเริ่มต้นของการสร้างความเข้มแข็งของสังคมฐานราก สร้างโอกาสและความยั่งยืนในการพัฒนาของจังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งมุ่งที่จะพัฒนาและบริหารจัดการ เชิงพื้นที่แบบบูรณาการ (Area Based Approach) และการพัฒนาองค์กรสู่ความยั่งยืน ควบคู่กับบริหารงานและการดำเนินโครงการต่าง ๆ ของจังหวัดสมุทรปราการ นอกจากนั้นจังหวัดยังมุ่งเน้นสู่การเป็นศูนย์กลางทางการค้า เศรษฐกิจ อุตสาหกรรม การคมนาคม การเกษตร และการท่องเที่ยว รองรับกระบวนการบูรณาการร่วมกับภาคส่วนต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับประชาชนทั่วไปได้อย่างรวดเร็ว เป็นรูปธรรม เป็นโครงการที่สามารถสร้างความร่วมมือทั้งภาครัฐ ภาคเศรษฐกิจ ภาคสังคม และภาคประชาชน ในระยะเวลาการดำเนินการที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ สำหรับภาคอุตสาหกกรรมซึ่งเป็นเศรษฐกิจหลักของจังหวัดนั้น ภาคเอกชนมีกำลังและศักภาพสูงที่จะพัฒนาตนเองอยู่ตลอด อีกทั้งยังมีพื้นที่จำกัดในการจัดตั้งโรงงานอุตสาหกกรรมเพิ่มเติม จังหวัดจึงได้มีแนวทางในการส่งเสริมการพัฒนาให้เป็นอุตสาหกรรมที่สะอาดเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อรองรับการขยายตัวของที่อยู่อาศัยและการท่องเที่ยวด้วย

โครงการสนับสนุนและประชาสัมพันธ์ด้านการท่องเที่ยว สินค้า และบริการ เป็นการขับเคลื่อนพัฒนาด้านการท่องเที่ยวของจังหวัดสมุทรปราการสู่ระดับประเทศและสากล ให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชนชาวสมุทรปราการ สร้างความก้าวหน้า สร้างคุณค่าอย่างยั่งยืน โดยยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ด้วยการขับเคลื่อนประเทศโดยให้ภาคส่วนที่เกี่ยวข้องและประชาชนทั่วไปสามารถรับรู้ เป็นการรวบรวมข้อมูลสถานที่สำคัญ แหล่งท่องเที่ยว เส้นทางการท่องเที่ยว สินค้าบริการ เทศกาล ประเภณ๊ และการจัดงานกิจกรรมต่างๆ มาแสดงผลในรูปแบบ Digital Live Map โดยมีการเชื่อมโยงข้อมูลกับแพลตฟอร์มที่เป็นที่นิยมต่างๆ เช่น Google Map Trip advisor เป็นต้น สามารถค้นหาและเข้าถึงบริการเพื่อการท่องเที่ยวจังหวัด สินค้า OTOP ได้จากหลายช่องทาง ซึ่งจะมีข้อมูล เนื้อหา ที่มีรายละเอียดชัดเจนสอดคล้องกับวิถีใหม่ของการใช้ชีวิตยุค New normal เพื่อฟื้นฟูวิถีชีวิตและวัฒนธรรมท้องถิ่นในจังหวัดสมุทรปราการให้เกิดการสร้างรายได้ให้ชุมชน และผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดเล็ก (SMEs) ก่อเกิดการยกระดับจังหวัดสมุทรปราการให้เป็นภาครัฐให้มีสมรรถนะสูงและคล่องตัว สามารถก้าวสู่การเป็นภาครัฐดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบ รวมถึงสร้างการรับรู้และภาพลักษณ์ใหม่ของจังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งกำลังพัฒนาเมืองสู่ความเป็นเมืองอัจฉริยะ (Smart City) โดย Digital Live Map จะเป็นการแพลตฟอร์มที่สามารถเรียกใช้งานได้ผ่าน Web Browser ได้ทุกอุปกรณ์ โดยเราจะสามารถเข้าโดย Scan Qr Code ที่มีตามสถานที่ท่องเที่ยว โดยจะสามารถแสดงจุดสำคัญทั้งหมดในจังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งจะแตกต่างจากแผนที่ดิจิทัลทั่วไปเช่น Google Map ตรงที่ สามารถแสดงรายละเอียดสถานที่ท่องเที่ยว การจัดกิจกรรม การจัดงาน ข้อมูลสินค้า การเดินทาง เป็นรายแห่งได้อย่างละเอียด ผ่านข้อมูล รูปภาพ วิดีโอ และที่สำคัญสามารถแสดงข้อมูลได้แบบ Real Time เช่น ตำแหน่งการจัดกิจกรรมปัจจุบันภายในงาน รายระเอียดเวทีกำลังจัดแสดง

วิธีการ ขั้นตอนการดำเนินงาน ระยะเวลาดำเนินการ

  • พัฒนาระบบข้อมูลและแผนที่ระบบ (Smart Map) เพื่อรองรับการแสดงตำแหน่งของสถานที่ สถานประกอบการ หน่วยงาน นำเข้า ข้อมูลเนื้อหา การแสดงผลข้อมูล เนื้อหา ในรูปแบบ ข้อความ ภาพนิ่ง งานออกแบบแสดงสัญลักษณ์ จุดแสดงตำแหน่งสถานที่สำคัญใน จังหวัดสมุทรปราการ สามารถเชื่อมโยงและแสดงในแพลตฟอร์มที่เป็นที่นิยมต่างๆ เช่น Google Map Trip advisor Wongnai เป็นต้น รองรับการนำเข้าและเชื่อมโยงข้อมูลกับหน่อยงานหรือสถานที่อื่นๆ
  • รวบรวม ผลิต และดำเนินงานของ ข้อมูลเนื้อหา การแสดงผลข้อมูลเนื้อหาในรูปแบบ ข้อความ ภาพนิ่ง งานออกแบบแสดงสัญลักษณ์ จุดแสดงตำแหน่งสถานที่สำคัญในจังหวัดสมุทรปราการ
  • มอบหมายภารกิจ ด้านข้อมูลแหล่งท่องเที่ยว สินค้า บริการ การจัดงานเทศการ หรือกิจกรรมต่างๆ สำนักงานท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดดูแล ด้านแหล่งท่องเที่ยวชุมชนและสินค้า OTOP สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดดูแล ด้านระบบบริหารจัดการสำนักงานจังหวัดดูแล ด้านการบำรุงรักษาและงบประมาณองค์การบริหารส่วนจังหวัดดูแล
  • ติดตั้งป้ายประชาสัมพันธ์ตามสถานที่ท่องเที่ยว หรืองานเทศการ ต่างๆ เพื่อให้นักท่องเที่ยวสามารถเข้าถึงข้อมูลสถานที่นั้นได้โดยแสกน QR Code
  • แต่งตั้งคณะทำงานในการดำเนินโครงการ โดยมีผู้แทนจากสำนักงานท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดดูแลระบบหลัก และการเชื่อมโยงข้อมูลของหน่วยงานภายนอก ข้อมูลแหล่งท่องเที่ยว และเส้นทางการท่องเที่ยว สำนักงานจังหวัดสมุทรปราการช่วยดูแลระบบหลักและการเชื่อมโยงข้อมูล สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดดูแลข้อมูลสินค้าและแหล่งท่องเที่ยวชุมชน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดดูแลข้อมูลด้านประเพณีและวัฒนธรรม สำนักงานพาณิชย์จังหวัดดูแลข้อมูลการจำหน่ายสินค้าและบริการ และการจัดตลาดสินค้าราคาถูกช่วยเหลือประชาชน องค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการดูแลข้อมูลการจัดเทศการประจำจังหวัดรวมทั้งภาคส่วนที่เกี่ยวข้องเป็นคณะทำงาน เพื่อกำกับติดตาม ประเมินผลและกำหนดแผนงานในการการดำเนินโครงการ และรายงานผลการดำเนินการให้คณะกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ (Smart City) จังหวัดสมุทรปราการทุก 6 เดือนเป็นอย่างน้อย
  • จัดอบรมการใช้ระบบให้กับเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง
  • แจ้งหน่วยงาน องค์กร หรือชุมชนต่างๆ ที่มีสถานที่ท่องเที่ยว สินค้า บริการ การจัดงานเทศการ หรือกิจกรรมต่างๆ ให้นำเข้าหรือเชื่อมโยงข้อมูลกับระบบ โดยมีการมอบหมายเจ้าหน้าที่ประสานและให้คำแนะนำในการดำเนินการ
  • เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้แก่ประชาชน นักท่องเที่ยว เป็นวงกว้างและเชื่อมโยงไปยังแพลตฟอร์มที่เป็นที่นิยมต่างๆ เช่น Google Map Trip advisor Wongnai เป็นต้น
  • การบำรุงรักษา สำนักงานท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดจัดหางบประมาณในการบำรุงรักษาและพัฒนาระบบ รวมทั้งการประชาสัมพันธ์

ผลลัพธ์ที่คาดหวัง

ระยะสั้น

  • จำนวนนักท่องเที่ยว ที่เข้ามาในจังหวัด และรายได้จากการท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น
  • สถานที่ท่องเที่ยว และสถานที่สำคัญเป็นที่รู้จักของประชาชนเพิ่มขึ้น
  • ยอดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ และบริการชุมชนเพิ่มขึ้น
  • สามารถบริหารจัดการและติดตามดำเนินโครงการเชิงพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ระยะกลาง

  • แหล่งท่องเที่ยวและผลิตภัณฑ์ชุมชนมีการพัฒนา
  • ประชาชนในพื้นที่มีรายได้เฉลี่ยเพิ่มขึ้น
  • อัตราการว่างงานของคนจังหวัดสมุทรปราการลดลง

ระยะยาว

  • สถานที่สำคัญ แหล่งท่องเที่ยว สินค้า และบริการของจังหวัดสมุทรปราการ เป็นที่รู้จัก และมีสถานที่ท่องเที่ยวที่เป็นจุดหมายหลักในการท่องเที่ยวของผู้คนทั่วโลก
  • จังหวัดมีสัดส่วนรายได้จากการท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น

ผลกระทบในเชิงเศรษฐกิจและสังคม

  • ชุมชนจำหน่ายสินค้าและชุมชนท่องเที่ยวมีรายได้เพิ่มขึ้น สร้างงาน สร้างอาชีพและพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในชุมชน
  • ชุมชนมีการคิดพัฒนาต่อยอดแหล่งท่องเที่ยวและสินค้าให้มีคุณภาพและมาตรฐานยิ่งขึ้น
  • ประชาชนสามารถทราบถึงโครงการของภาครัฐที่ดำเนินการเพื่อพัฒนาจังหวัดในพื้นที่ พร้อมทั้งเสนอแนะให้ข้อคิดเห็นและนำเสนอโครงการที่มีความต้องการ