โครงการติดตั้ง Solar Cells หน่วยงานราชการ /กลุ่มวิสาหกิจ และภาคเอกชน
เทคโนโลยี/นวัตกรรม
- ระบบ Solar Cells เพื่อผลิตไฟฟ้า
- เซนเซอร์ตรวจวัดการผลิตไฟฟ้าและการใช้ไฟฟ้า
เป้าหมาย
- มีการใช้พลังงานทางเลือกเพิ่มขึ้น ลดการพึ่งพาพลังงานจากระบบไฟฟ้าหลัก
- เป็นต้นแบบให้ภาคส่วนต่างๆ สนใจและหันมาใช้พลังงานทางเลือกเพิ่มขึ้น
- สามารถจัดเก็บข้อมูลการผลิตไฟฟ้า การลดใช้ไฟฟ้า และลดการปล่อยมลพิษ ให้ภาคส่วนต่างๆสามารถรับรู้ และเข้าถึงข้อมูลในการตัดสินใจใช้พลังงานทางเลือก
ตัวชี้วัด
- มีการติดตั้งระบบ Solar cell ในสถานที่ ไม่น้อยกว่า 20 แห่ง โดยมีกำลังผลิตไม่น้อยกว่า 10 kW ต่อแห่ง หรือมีปริมาณการผลิตไฟฟ้าติดตั้งรวมไม่น้อยกว่า 200 kW
- มีการใช้พลังงานทางเลือกเพิ่มขึ้นร้อยละ 10 จากปีที่ผ่านมา 2 ปี
งบประมาณ 2,500,000 -70,000,000 บาท
รายละเอียดโครงการ
ความสอดคล้องกับโจทย์ปัญหาเมืองและกลุ่มเป้าหมายผู้รับประโยชน์
จังหวัดสมุทรปราการมีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว มีฐานเศรษฐกิจส่วนใหญ่อยู่ภาคอุตสาหกรรม และภาคพาณิชย์ โดยเป็นจังหวัดที่มี GDP และมีโรงงานอุตสาหกรรมเป็นอันดับต้น ๆ ของประเทศ อีกทั้งยังเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยที่รองรับการขยายตัวจากกรุงเทพมหานคร ทำให้มีความต้องการใช้ไฟฟ้าจำนวนมากข้อมูลล่าสุดมีการใช้กระแสไฟฟ้ารวม ประมาณ 25,000 ล้านกิโลวัตต์/ชั่วโมง และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ส่งผลให้เกิดการปล่อยมลพิษมากขึ้นตามไปด้วย ซึ่งการไฟฟ้าแห่งประเทศไทยก็มีแผนที่จะปรับปรุงและพัฒนาโรงงานผลิตไฟฟ้าในพื้นที่อยู่ตลอด จากแผนปฏิบัติราชการด้านพลังงานของจังหวัดสมุทรปราการ ที่ได้เชื่อมโยงประเด็นตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580) กำหนดเป้าหมายการพัฒนาประเทศ และรวมถึงแผนพัฒนาจังหวัดสมุทรปราการ 5 ปี (ฉบับทบทวน พ.ศ. 2565) โดยแนวทางการขับเคลื่อนมิติพลังงานของจังหวัดสมุทรปราการ ได้แก่ การส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทน เช่น Solar Rooftop โดยส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ ในหน่วยงานราชการ เช่น โรงเรียน โรงพยาบาล เป็นต้น เพื่อลดการพึ่งพาการใช้ไฟฟ้าจากระบบส่งหลัก จากการประชุมคณะทำงานขับเคลื่อนเมืองอัจฉริยะด้านพลังงานอัจฉริยะได้พิจารณาเป้าหมายหลักในการพัฒนา คือ ประเด็นการสร้างความยั่งยืนและการเข้าถึงประชาชน ส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ เพื่อการพึ่งพาตนเองและลดการใช้พลังงานไฟฟ้าจากระบบผลิตไฟฟ้าหลัก รวมถึงการใช้เทคโนโลยีเพื่อบริหารจัดการพลังงานให้มีประสิทธิภาพ
โครงการติดตั้ง Solar Cells หน่วยงานราชการ/กลุ่มวิสาหกิจ และภาคเอกชนนี้จึงเป็นจุดเริ่มต้นของการส่งเสริมส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนให้ความสนใจในการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ เพื่อการพึ่งพาตนเองและลดการใช้พลังงานไฟฟ้าจากระบบผลิตไฟฟ้าหลักมากขึ้น โดยเริ่มจากโครงการติดตั้ง Solar Cells หน่วยงานราชการ/กลุ่มวิสาหกิจ และภาคเอกชน ที่จะคัดเลือกมาให้กระจายอยู่ในทุกอำเภอของจังหวัดและมีระบบจัดเก็บข้อมูลการผลิตใช้พลังงานไฟฟ้าเป็นศูนย์ข้อมูลกลางรองรับการเชื่อมโยงและจัดเก็บข้อมูลจากภาคส่วนต่างๆ เพื่อเป็นต้นแบบสร้างการรับรู้ โดยมีการจัดเก็บข้อมูลการผลิตไฟฟ้า การใช้ไฟฟ้า และลดการปล่อยมลพิษและอื่น ๆ เพื่อประชาสัมพันธ์เป็นข้อมูลใช้ประกอบในการตัดสินใจในการที่ภาคประชาชนจะได้ตัดสินใจเลือกใช้พลังงานทางเลือกอย่าง Solar Cell เพราะข้อมูลเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้ประชาชนตัดสินใจเลือกใช้พลังงานทางเลือกเพราะการลงทุนค่อนข้างมีค่าใช้จ่ายที่สูงดังนั้น ภาคประชาชนสามารถดูข้อมูลจากภาครัฐที่ได้ดำเนินการติดนำร่องนี้เพื่อนำไปเป็นข้อมูลในการตัดสินใจ โดยมีเป้าหมายให้มีการใช้พลังงานไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ในจังหวัดเพิ่มมากขึ้นลดการใช้พลังงานไฟฟ้าจากระบบหลัก อีกทั้งยังลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานไฟฟ้าในระยะยาว โดยในระยะต่อไปจะนำข้อมูลการผลิตและการใช้ไฟฟ้าที่จัดเก็บได้มาวิเคราะและสร้างสถานีไฟฟ้าชุมชนและเชื่อมโยงกันโครงข่ายไฟฟ้าชุมชนอัจฉริยะสามารถส่งกระไฟฟ้าที่ผลิตได้เกินกว่าที่ใช้งานไปยังโครงข่ายอื่นที่ผลิดไฟฟ้าได้มีเพียงพอเพื่อสร้างเสถียรภาพในการใช้พลังงานไฟฟ้าทางเลือก ขึ๋งจังหวัดสมุทรปราการโดยสำนักงานพลังงานจังหวัดสมุทรปราการ กระทรวงพลังงาน ก็มีนโยบายช่วยส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ด้วย ทำให้ช่วยสนับสนุนภาคเอกชนให้มีความสนใจในการติดตั้งระบบผลิตพลังงานไฟ้ฟ้าจากแสงอาทิตย์เพิ่มขึ้น
วิธีการ ขั้นตอนการดำเนินงาน ระยะเวลาดำเนินการ
- รับสมัครและคัดเลือกผู้เข้าร่วมโครงการและการติดตั้งระบบพลังงานทดแทน
โดยคัดเลือกผู้เข้าร่วมโครงการที่มีคุณสมบัติและสถานที่ที่เหมาะสม ติดตั้งระบบผลิตพลังงานไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ - ดำเนินการติดตั้งระบบผลิดไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์หรือ Solar cell กำลังผลิตขนาดไม่น้อยกว่า 10 kW พร้อมทั้งติดตั้งเซนเซอร์ตรวจวัดค่าพลังงานไฟฟ้าแบบ Real time เช่น
การผลิตไฟฟ้า การใช้ไฟฟ้าทั้งหมด ไฟฟ้าจากระบบหลัก เป็นต้น - ติดตั้งซอฟต์แวร์บริการจัดการ โดยบันทึกค่าพลังงานไฟฟ้าจากเซนเซอร์ของหน่วยงานเอง และมีระบบเชื่อมโยงและจัดเก็บข้อมูลเพื่อให้ภาคส่วนต่างๆ สามารถส่งข้อมูลต่างมาจัดเก็บในระบบได้ โดยข้อมูลที่ได้สามารถนำมาวิเคราะห์และวางแผนการติดตั้งสถานีไฟฟ้าชุมในพื้นที่ต่างๆ ให้มีความสมดุลได้ พร้อมทั้งเชื่อมโยงเครือข่ายพลังงานไฟฟ้าในภาพรวมได้ในอนาคต
- เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ สร้างการรับรู้ ให้ทุกภาคส่วนเกี่ยวกับข้อมูลการใช้พลังงานทดแทน รวมทั้งต้นแบบหน่วยงานที่ติดตั้งระบบพลังงานทางเลือก
- สำนักงานพลังงานจังหวัดติดตามผลการดำเนินงานผ่านรายซอฟต์แวร์บริหารจัดการ รวมทั้งแจ้งเตือนการบำรุงรักษาให้เจ้าของสถานที่ติดตั้งระบบเมื่อเกิดเหตุผิดปกติ และรายงานผลการดำเนินการให้คณะกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ (Smart City) จังหวัดสมุทรปราการทุก 6 เดือนเป็นอย่างน้อย
- การบำรุงรักษา สำนักงานพลังงานจังหวัดจัดหางบประมาณในการบำรุงรักษาระบบหลักในการจัดเก็บข้อมูล ส่วนหน่วยงานเจ้าของสถานที่ที่ติดตั้งจะต้องจัดสรรงบประมาณเพื่อบำรุงรักษาระบบ โดยสำนักงานพลังงานจังหวัดสมทุรปราการจะให้คำแนะนำในการทำแผนบำรุงรักษา รวมทั้งจัดหาบริษัทพันธมิตรในการดำเนินงานให้เป็นไปตามมาตรฐาน ซึ่งงบประมาณในส่วนนี้จะมาจากค่าใช้จ่ายของพลังงานไฟฟ้ามาสามารถลดลงไปได้
ผลลัพธ์ที่คาดหวัง
ระยะสั้น
- มีการใช้พลังงานทางเลือกเพิ่มขึ้น ลดการพึ่งพาพลังงานจากระบบไฟฟ้าหลัก
ลดการปล่อยมลพิษ - หน่วยงานที่ติดตั้งระบบมีค่าใช้จ่ายด้านพลังงานไฟฟ้าลดลง
- มีต้นแบบให้ภาคส่วนต่าง ๆ สามารถเข้าถึงข้อมูลการผลิตไฟฟ้า การลดใช้ไฟฟ้า และลดการปล่อยมลพิษ และตระหนักรู้ในการผลิตพลังงานทดแทน
ระยะกลาง
- มีการใช้พลังงานทางเลือกเพื่อผลิตไฟฟ้าเพิ่มขึ้น ลดการใช้พลังงานจากระบบหลัก
- หน่วยงานราชการมีการใช้พลังงานทางเลือกไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของจำนวนหน่วยงานทั้งหมดที่เอื้ออำนวย
- มีการสร้างระบบสถานีไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ของชุมชน
- สามารถใช้ข้อมูลในการออกแบบระบบไฟฟ้าโดยมีมีเชื่อมโยงกันได้
- ภาคเอกชนสนับสนุนแหล่งเงินทุน ในการติดระบบผลิดไฟฟ้าจากพลังงานทางเลือก
ระยะยาว
- ลดการปล่อบมลพิษ ทำให้สิ่งแวดล้อมและอากาศมีคุณภาพดีขึ้น
- ระบบไฟฟ้าหลักสามารถผลิตไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงได้น้อยลง
- ทุกภาคส่วนทราบและมีความเข้าใจข้อมูลเกี่ยวกับการใช้พลังงานทางเลือก
- ลดการนำเข้าพลังงงานเชื้อเพลิงจากต่างประเทศเพื่อใช้ในการผลิดไฟฟ้า
ผลกระทบในเชิงเศรษฐกิจและสังคม
- ลดค่าใช้จ่ายในด้านพลังงงานไฟฟ้าได้ในระยะยาว และเพิ่มรายใด้
- ลดการปล่อบมลพิษ ทำให้สิ่งแวดล้อมและอากาศมีคุณภาพดีขึ้น
- ทุกภาคส่วนเห็นว่าการใช้พลังงานทางเลือกเป็นเรื่องปกติที่ต้องติดตั้งในทุกๆ สถานที่ที่เอื้ออำนวย
- ลดการนำเข้าพลังงานและเชื้อเพลิงของประเทศ
- เกิดความร่วมมือโดยภาคเอกชนในการสนับสนุนแหล่งเงินทุน ในการติดระบบผลิดไฟฟ้าจากพลังงานทางเลือก