สมุทรปราการสมาร์ทซิตี้

ชื่อเมืองอัจฉริยะ สมุทรปราการสมาร์ทซิตี้

ประเภทเมืองอัจฉริยะ เมืองเดิม (Livable City)

ชื่อหน่วยงาน จังหวัดสมุทรปราการ (สำนักงานจังหวัดสมุทรปราการ)

ประเภทหน่วยงาน ส่วนราชการ

ที่ตั้งหน่วยงาน

ศาลากลางจังหวัดสมุทรปราการ  ถนนสุทธิภิรมย์  ตำบลปากน้ำ
อำเภอเมืองสมุทรปราการ  จังหวัดสมุทรปราการ  รหัสไปรษณีย์  10240
หมายเลขโทรศัพท์  02 702 5021-4
อีเมล์  [email protected]

ที่ตั้งเมืองอัจฉริยะ

จังหวัดสมุทรปราการ
พิกัด (ละติจูด – ลองจิจูด) x : 13.599589 y : 100.596928

วิสัยทัศน์การพัฒนาเมืองอัจฉริยะ

“เมืองอัจฉริยะ เศรษฐกิจดิจิทัล ชีวิตสะดวกมีคุณภาพเสริมสร้างความรู้บ้านเมืองสะอาดปลอดภัย ใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ”

เป้าหมายการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ

  • ประชาชนทุกคน ได้รับการพัฒนาคุณภาพชีวิต มีความสะดวก ปลอดภัย และมีรายได้เพียงพอ มีระบบสาธารณูปโภคครบถ้วนทั่วถึง ได้รับข่าวสารและเข้าถึงบริการต่าง ๆ ของภาครัฐได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว รวมทั้งได้รับการศึกษาและพัฒนาทักษะอาชีพที่ทันสมัยตลอดชีวิต
  • สถานศึกษาให้มีศูนย์การเรียนรู้เฉพาะทางในสาขาที่เป็นที่ต้องการของผู้ประกอบการและเป็นที่ยอมรับในระดับประเทศ ผู้เรียนได้รับการศึกษาที่เหมาะสม ตรงตามความชอบ ความสนใจและความถนัด มีความรู้และทักษะที่ทันสมัย สามารถต่อยอดไปประกอบอาชีพและที่ต้องการของตลาดการจ้างงานในอนาคต
  • ลดการใช้พลังงานจากแหล่งโครงข่ายหลัก เพิ่มการใช้พลังงานทางเลือก ลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงาน สามารถใช้พลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และลดการปล่อยมลพิษ
  • สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ ป่าไม้ อากาศ และน้ำ ได้รับการอนุรักษ์ฟื้นฟู บำรุงรักษา และปกป้อง โดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน
  • สินค้าและแหล่งท่องเที่ยวชุมชนได้รับการพัฒนาและเผยแพร่ให้เป็นที่รู้จักในวงกว้างและเป็นเป้าหมายที่สำคัญของนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ

วัตถุประสงค์การพัฒนาเมืองอัจฉริยะ

  • มีระบบตรวจวัดและเฝ้าระวังคุณภาพน้ำในคลองสายหลักและคุณภาพอากาศในพื้นที่เสี่ยง สามารถวิเคราะห์หาต้นเหตุของปัญหาได้ มีการบริหารจัดการ พัฒนา และปรับปรุงอย่างมีประสิทธิภาพโดยการมีส่วนร่วมของประชาชน
  • ประชาชนสามารถรับทราบข่าวสาร และเข้าถึงบริการของภาครัฐได้อย่างทั่วถึง และมีส่วนร่วมในกิจกรรมของภาครัฐและการพัฒนาชุมชน ได้รับการแจ้งเตือนสารธารณภัยต่างๆ อย่างทันท่วงทีลดผลกระทบและความเสียหาย
  • พัฒนาบุคลากรทางการศึกษาให้มีทักษและความรู้ที่ทันสมัยสามารถสอนนักเรียนให้มีทักษะและคุณลักษณะในศตวรรษที่ 21 สามารถใช้ในชีวิตประจำวัน ใช้ในการประกอบอาชีพ และมีส่วนร่วมในการเผยแพร่ความรู้สู่ชุมชน
  • ส่งเสริมท่องเที่ยวเชิงนิเวศ เชิงประวัติศาสตร์ ศิลปะวัฒนธรรม วิถีชีวิตชุมชนแหล่งท่องเที่ยวที่ได้การพัฒนาให้มาตรฐานและปลอดภัย มีจำนวนนักท่องเที่ยว มีรายได้จากการท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น ช่วยกระจายรายได้ไปสู่ชุมชน
  • มีต้นแบบในการใช้พลังงานทางเลือก ส่งเสริมให้ตระหนักในการพลังงานทางเพิ่มขึ้นลดการใช้ไฟฟ้าจากโครงข่ายหลัก มีเทคโนโลยีในการติดตามและบริหารจัดการพลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ลดการปล่อยมลพิษ และต่อยอดสู่เครื่องข่ายระบบไฟฟ้าพลังงานทางเลือกระหว่างชุมชน

ตัวชี้วัดเมืองอัจฉริยะ

  • แหล่งน้ำได้รับการพัฒนา ปรับปรุงและฟื้นฟู โดยดัชนีคุณภาพน้ำทั่วไป (WQI) เพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 และมีช่วงเวลาที่คุณภาพอากาศอยู่ในระดับดีเพิ่มร้อยละ 10
  • ส่วนราชการสามารถติดต่อสื่อสารแจ้งข่าวสารต่างๆ ให้กับประชาชนในจังหวัดผ่านช่องทางดิจิทัลทั้งรายบุคคลและรายกลุ่มไม่น้อยกว่า 50,000 คน และเรื่องร้องเรียนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60 ได้รับการช่วยเหลืออย่างตรงจุดและรวดเร็ว
  • บุคลากรทางการศึกษาไม่น้อยกว่า 100 คนได้รับการพัฒนาให้มีทักษะและความรู้ที่ทันสมัย สามารถสอนนักเรียนทุกคนในโรงเรียนสังกัด สพฐ. ในจังหวัดสมุทรปราการจำนวน 25 โรงเรียนให้มีทักษะและคุณลักษณะในศตวรรษที่ 21 และมีนักเรียนเข้าใช้งานอุปกรณ์ Project-Based Learning ไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 ของจำนวนนักเรียน
  • มีนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 5 และรายได้จากการท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 ต่อปี
  • มีการใช้พลังงานทางเลือกเพิ่มขึ้นร้อยละ 10 จากปีที่ผ่านมา
  • พื้นที่ชายฝั่งทะเลหรือตลิ่งริมคลองได้รับการเฝ้าระวังเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 และสามารถแจ้งเตือนน้ำทะเลหนุนที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อประชาชนได้มีน้อยกว่า 3 วัน โดยมี
  • ความถูกต้องไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

ลักษณะของเมืองอัจฉริยะ 6 ด้าน

รายละเอียดการพัฒนาในแต่ละด้าน

ภาพรวมการบริการระบบเมืองอัจฉริยะ กิจกรรม หรือโครงการที่เสนอ

จังหวัดสมุทรปราการมีนโยบายในการขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะเพื่อให้เกิดชุมชนที่อำนวยความสะดวกแก่ผู้อยู่อาศัยและได้รับคุณภาพในการใช้ชีวิต เป็นเมืองที่น่าอยู่อาศัยและมีการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่น้อยที่สุดอย่างมีประสิทธิภาพ โดยทำการเชื่อมโยงระบบโครงสร้างพื้นฐานของเมืองเข้าด้วยกันแบบบูรณาการผ่านระบบเทคโนโลยีดิจิทัลทั้ง 6 ด้าน คือ สิ่งแวดล้อมอัจฉริยะ พลเมืองอัจฉริยะ การบริหารภาครัฐอัจฉริยะ พลังงานอัจฉริยะ ด้านเศรษฐกิจอัจฉริยะ การดำรงชีวิตอัจฉริยะ ดังนั้นเพื่อให้การบริหารจัดการเมืองเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยได้กำหนดวิสัยทัศน์การพัฒนาเมืองอัจฉริยะ คือ “เมืองอัจฉริยะ เศรษฐกิจดิจิทัล ชีวิตสะดวกมีคุณภาพเสริมสร้างความรู้ บ้านเมืองสะอาดปลอดภัย ใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ” และได้กำหนดขอบเขตพื้นที่นำร่องความเป็นเมืองอัจฉริยะ เพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ในการนำเทคโนโลยีที่สามารถสนับสนุนและลดข้อจำกัดของการรับรู้ข้อมูลการควบคุมการทำงานของเครื่องมืออุปกรณ์หรือระบบ สามารถนำข้อมูลจากหลายแหล่งมาบูรณาการให้เกิดประโยชน์ เพื่อการบริหารเมือง การอยู่อาศัย การประกอบธุรกิจเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตประชากรและเศรษฐกิจของจังหวัดสมุทรปราการได้ ดังนั้นจังหวัดจึงได้กำหนดขอบเขตพื้นที่เมืองอัจฉริยะและการบูรณาการขยายผลในเขตพื้นที่ต่าง ๆ ในจังหวัดสมุทรปราการ โดยเมืองอัจฉริยะแต่ละด้านมีเป้าหมายและโครงการที่จะดำเนินการดังนี้

  • สิ่งแวดล้อมอัจฉริยะ (Smart Environment) มุ่งเน้นการดำเนินการพัฒนาให้เป็นเมืองสะอาดเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ปรับปรุง พัฒนาคลอง และแก้ไขปัญหาคุณภาพน้ำ นำไปสู่การระบายน้ำทีมีประสิทธิภาพ การกักเก็บน้ำใช้ในฤดูแล้ง ตลอดจนพัฒนาสู่เส้นทางคมนาคมและการท่องเที่ยว และการแก้ไขปัญหาคุณภาพอากาศ สร้างความตระหนักรู้ให้แก่ประชาชนในการป้องกันตนเองและมีส่วนร่วมในการสร้างคุณภาพอากาศที่ดี เพื่อความยั่นยืนของเมือง
  • พลเมืองอัจฉริยะ (Smart People) มุ่งเน้นพัฒนาคุณภาพของครูและบุคลาการ
    ทางการศึกษา ให้สามารถสอนนักเรียนให้มีทักษะในศตวรรษที่ 21 ภายใต้กระบวนการเรียนรู้แบบ Project-Based Learning โดยมีเป้าหมายให้เยาวชนมีความรู้ สามารถปรับตัวและดำรงชีวิตได้อย่างมีความสุขได้ในยุคปัจจุบัน นอกจากนี้ยังมีเป้าหมายระยะยาวในการผลิตเยาวชนที่มีคุณภาพเพื่อมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนและส่งต่อความรู้ให้คนแก่ชุมชน
  • การบริหารภาครัฐอัจฉริยะ (Smart Governance) มุ่งเน้นในการการเพิ่มช่องทางการสื่อสารในรูปแบบดิจิทัล เพื่อให้ประชาชนและเจ้าที่หน้าของหน่วยงานภาครัฐได้มีช่องทางการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพประชาชนสามารถเข้าใช้บริการและเข้าถึงข้อมูลข่าวสารจากภาครัฐอย่างสะดวกสบาย หน่วยงานของรัฐสามารถแจ้งข้อมูลข่าวสารแก่ประชาชนได้อย่างทั้วถึงและตรงกลุ่มเป้ามหาย
  • พลังงานอัจฉริยะ (Smart Energy) มุ่งเน้นเพิ่มการใช้พลังงานทางเลือก ลดการใช้พลังงานจากโครงข่ายหลัก และใช้พลังงานไฟฟ้าอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเน้นในการติดตั้งระบบต้นแบบ เพื่อเป็นแหล่งอ้างอิงและเรียนรู้ เพื่อผลักดันให้เกิดความตระหนักในการใช้พลังงานทางเลือกให้เป็นวงกว่างต่อไป
  • เศรษฐกิจอัจฉริยะ (Smart Economy) จะมุ่งเน้นยกระดับสินค้า บริการ และแหล่งท่องเที่ยวของจังหวัดสมุทรปราการให้เป็นที่รู้จักและเป็นจุดหมายในการท่องเที่ยวระดับโลก โดยเฉพาะสินค้า บริการ และแหล่งท่องเที่ยวในชุมชน เพื่อให้เกิดการสร้างรายได้สร้างอาชีพและกระจายรายได้สู่แก่ชุมชน
  • การดำรงชีวิตอัจฉริยะ (Smart Living) มุ่งเน้นการอำนวยความสะดวกในการดำรงชีวิตของประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากน้ำทะเลหนุนสูง ซึ่งเป็นปัญหาที่คู่กับจังหวัดสมุทรปราการมาอย่างยาวนานและเกิดขึ้นบ่อยครั้ง โดยมีหลายปัจจัยที่ส่งผลกระทบของระดับน้ำทำให้การพยากรระดับน้ำล่วงหน้ามีความคลาดเลือนไปมาก เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่ได้เตรียมพร้อมในการใช้ชีวิตประจำวันหรือการเดินทาง
    ลดความเสียหายที่จะเกิดแก่ทรัพย์สิน