สมุทรปราการสมาร์ทซิตี้ – โครงการต้นแบบการพัฒนาและเฝ้าระวังคุณภาพน้ำในคลอง

โครงการต้นแบบการพัฒนาและเฝ้าระวังคุณภาพน้ำในคลอง

เทคโนโลยี/นวัตกรรม

  • สถานีและอุปกรณ์ตรวจวัดคุณภาพน้ำ ระดับน้ำ ปริมาณการไหลของน้ำ และวัชพืชกีดขวางทางน้ำ
  • ระบบบำบัดน้ำเสีย และเติมอากาศเคลื่อนที่
  • ระบบวิเคราะห์และแจ้งเตือนปัญหาให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
  • ระบบรายงานสถานการณ์ รับแจ้งเหตุและเรื่องร้องเรียน

เป้าหมาย

  • เพื่อให้น้ำในคลองมีคุณภาพดีขึ้น
  • ลดผลการะทบและความเสียหายจากน้ำล้นตลิ่ง
  • เพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำ เพิ่มพื้นที่รองรับการระบายน้ำและกักเก็บน้ำในหน้าแล้ง
  • เพื่อแจ้งเตือนเจ้าหน้าที่และประชาชนที่เกี่ยวข้องทราบเหตุการณ์ต่าง ๆ เพื่อเตรียมความพร้อมหรือแก้ไขปัญหา
  • เพื่อศึกษาหาสาเหตุที่ให้น้ำในคลองเน่าเสีย และวิธีป้องกันและแก้ไขปัญหา
  • มีเครือข่ายชุมชนช่วยพัฒนาและเผ้าระวังคุณภาพน้ำ

ตัวชี้วัด

  • น้ำในคลองมีคุณภาพดีขึ้นร้อยละ ๓๐ เมื่อเทียบกับก่อนดำเนินโครงการ
  • มีดัชนีคุณภาพน้ำทั่วไปในคลอง (WQI) มากกว่า ๖๐
  • ระบบสามารถแจ้งเตือนปัญหาที่เกิดขึ้นได้ ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๘๐

งบประมาณ ๓๘,๕๐๐,๐๐๐ บาท

รายละเอียดโครงการ

ความสอดคล้องกับโจทย์ปัญหาเมือง และกลุ่มเป้าหมายผู้รับประโยชน์

จังหวัดสมุทรปราการเป็นจังหวัดในปริมณฑลที่มีโรงงานอุตสาหกรรมเป็นจำนวนมากและมีการพัฒนาที่ไม่สอดคล้องกับผังเมือง ซึ่งส่งผลให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมตามมา เช่น ปัญหาน้ำเน่าเสียที่จะส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศในน้ำ และสภาพแวดล้อมโดยรอบ น้ำเน่าเสียนั้นไม่เพียงแต่ส่งกลิ่นรบกวน
แต่ยังเป็นแหล่งเพาะพันธุ์เชื้อโรค นำมาซึ่งปัญหาสุขภาพของคนในชุมชนอีกด้วย โดยปัญหาน้ำเสียในจังหวัดสมุทรปราการ มีสาเหตุสำคัญ ได้แก่ การปล่อยน้ำทิ้งสู่แหล่งน้ำธรรมชาติจากโรงงานอุตสาหกรรมและชุมชนเมืองที่มีความหนาแน่นสูง ซึ่งในปัจจุบันนั้นทางจังหวัดสมุทรปราการได้มีการตรวจสอบโรงงานต่างๆ รวมถึงโรงงานที่อยู่ใกล้บริเวณคลองอยู่ตลอดแต่ไม่พบการกระทำผิดหรือกระทำการให้เกิดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม ซึงหากพบเจอก็จะใช้ดำเนินการตามกฏหมายทันที เช่น การสั่งปิดดำเนินการชั่วคราว การงดออกใบอนุญาตหรือไม่ต่อใบอนุญาต อย่างไรก็ตามจังหวัดสมุทรปราการก็ยังคงพบปัญหาน้ำเสียอย่างต่อเนื่อง เพราะว่ายังคงมีสาเหตุอื่นๆ เช่น การมีตะกอนสะสมในแหล่งน้ำธรรมชาติเป็นเวลานาน ผักตบชวาชะลอการไหลของน้ำ การมีการชะล้างหน้าดินจากการทำการเกษตร รวมทั้งการมีน้ำเสียจากพื้นที่หรือลำคลองที่อยู่ต้นทาง และอาจมีการลักลอบปล่อยน้ำเสียในช่วงเวลากลางคืนซึ่งมีการร้องเรียนอยู่ตลอดแต่เมื่อลงพื้นที่ตรวจสอบกลับไม่พบสิ่งผิดปกติ จึงต้องมีการติดตั้งเครื่องตรวจวัดและแจ้งเตือนคุณภาพน้ำแบบอัตโนมัติเพื่อจะได้ตราวจสอบหาแห่ลงที่มาของปัญหาได้อย่างแม่นยำและทันเวลา รวมกับการสร้างเครือข่ายชุนชนริมน้ำที่จะได้รับการปลูกังและฝึกอบรมให้คอยเฝ้าระวังและตรวจสอบคุณภาพน้ำในคลองของพื้นที่ที่อยู่อาศัยและใกล้เคียง และสามารถเข้าถึงพื้นที่ที่เพื่อสัสงเกตุและตรวจสอบแห่งที่มาเมือมีการแจ้งเตือนคุณภาพน้ำได้อย่างรวดเร็ว โดยมีการประสานงานรับและแจ้งข้อมูลให้กับเจ้าหน้าผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งแต่ละสาเหตุนั้นต้องการวิธีเฝ้าระวังและการบำบัดที่แตกต่างกัน หรือต้องการวิธีบำบัดหลายวิธีผสมผสานกัน จากข้อมูลการตรวจสอบน้ำผิวดินจำนวน 5 สถานี ได้แก่ บริเวณแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณที่ว่าการอำเภอพระประแดง บริเวณแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณศาลากลางจังหวัดสมุทรปราการ คลองสำโรง คลองบางปลากด คลองลัดหลวง พบว่าทั้ง 5 แหล่งมีค่าดัชนีคุณภาพน้ำอยู่ในระดับเสื่อมโทรม โดยจังหวัดสมุทรปราการมีระบบคลองในพื้นที่เชื่อมโยงกันเป็นจำนวนมาก โดยในฝั่งภาคตะวันออก มีทั้งสิ้น 64 คลอง เป็นลักษณะคลองชลประทาน 16 คลอง เช่น คลองสำโรง (38.15 กม) คลองชายทะเล (30 กม) คลองจระเข้ใหญ่ (17.1 กม) คลองพระองค์ไชยานุชิต (14.5 กม) เป็นต้น และมีคลองธรรมชาติ จำนวน 48 คลอง เช่น คลองลาดหวาย (11.3 กม) คลองบางน้ำจืด ( 11.2 กม) คลองบางเซา (7.4 กม) เป็นต้น ซึ่งกลุ่มเป้าหมายหลักที่จะได้รับประโยชน์ คือ ประชาชนจังหวัดสมุทรปราการที่อยู่ในชุมชนริมคลอง และกลุ่มเป้าหมายรอง คือ ประชาชนจังหวัดสมุทรปราการที่สามารถใช้ประโยชน์จากแหล่งน้ำในด้านอื่น ๆ เช่น การท่องเที่ยว และ การระบายน้ำ เป็นต้น

วิธีการ ขั้นตอนการดำเนินงาน ระยะเวลาดำเนินการ

จังหวัดสมุทรปราการมีแผนปฏิบัติการเพื่อการจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อมจังหวัดสมุทรปราการประจำปีงบประมาณ 2566 ซึ่งได้คัดเลือกเฉพาะปัญหาน้ำเสีย พื้นที่คลองสำโรงแบ่งเป็น 3 ด้าน และ 12 กิจกรรม ได้แก่ ด้านกายภาพ (3 กิจกรรม) ด้านคุณภาพ (6 กิจกรรม) และ ด้านนโยบาย (3 กิจกรรม) รายละเอียดตามตารางด้านล่าง ซึ่งโครงการการปรับปรุงคุณภาพน้ำในคลองนี้ จะมีการนำเทคโนโลยีต่าง ๆ เข้ามาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานตามแผนในระยะที่ 1

ตารางแสดงการนำเทคโนโลยีเมืองอัจฉริยะมาใช้กิจกรรมต่าง ๆ ตามแผนปฏิบัติการการจัดการปัญหาน้ำเสียคลองสำโรง

แผนปฏิบัติการการจัดการปัญหาน้ำเสีย กิจกรรม คำอธิบายเพิ่มเติมสำหรับการใช้เทคโนโลยีเมืองอัจฉริยะ
1. ด้านกายภาพ 1. การตรวจจับปริมาณผักตบชวา

2. การวิเคราะห์ระดับของตะกอนเลนที่สะสมในแม่น้ำ

3. การเฝ้าระวังการระบายน้ำไหล

1. ผักตบชวา หรือสิ่งกีดขวางทางน้ำ สามารถใช้การวิเคราะห์ภาพวิดีโอ เพื่อตรวจจับการกีดขวางเนื่องจากผักตบชวา การเคลื่อนที่และการคาดการณ์การกีดขวางได้

2. การดูดตะกอนเลน อาจใช้การประเมินปัจจัยต่าง ๆ จากเซ็นเซอร์ เพื่อประเมินระดับของโคลนเลนสะสมในคลองได้

3. การควบคุมการระบายน้ำ สามารถใช้ใช้ข้อมูลจากเซ็นเซอร์ระดับน้ำและอัตราการไหล เพื่อตรวจสอบ วิเคราะห์ภาพ และยืนยันระบบการระบายน้ำได้

2. ด้านคุณภาพ 4. การติดตั้งระบบตรวจวัดคุณภาพน้ำ Real time

5. การติดตั้งเครื่องเติมอากาศและระบบบำบัด
น้ำเสียแบบเคลื่อนที่

1. ติดตั้งเซนเซอร์ในจุดที่เหมาะสมครอบคลุมทั้งพื้นที่ชุมชน และอุตสาหกรรมที่อาจเป็นแหล่งกำเนิด

2. มีการเชื่อมโยงข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพน้ำ เช่น การพยากรณ์อากาศ การระบายน้ำและระดับน้ำจากประตูน้ำ เป็นต้น

3. แจ้งเตือนคุณภาพน้ำและแสดงสถานการณ์ในภาพรวมทั้งคลอง

4. ในจุดที่มีปัญหาคุณภาพน้ำ สามารถใช้เครื่องเติมอากาศและระบบบำบัดน้ำเสียแบบเคลื่อนที่ได้มาช่วยแก้ไข

7. การอบรมให้ความรู้แก่ชุมชนริมคลอง

8. การสร้างเครือข่ายเฝ้าระวังคุณภาพน้ำ

9. การคาดการณ์ผลการฟื้นฟูคลองสำโรงและคลองสาขา (EM ball, etcs.)

1. อบรมให้ความรู้แก่ชุมชนริมคลองเพื่อให้มีส่วนร่วม โดยสามารถปฏิบัติอย่างถูกต้องหากได้รับการแจ้งเตือนสถานการณ์ต่างๆ และสามารถแจ้งหากพบเห็นสิ่งผิดปกติผ่านระบบ รวมทั้งสามารถร่วมกันป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำเสียในเบื้องต้นได้

2. สร้างเครือข่ายชุมชนริมคลองเพื่อให้เป็นแกนนำในการเฝ้าระวังและรักษาคุณภาพน้ำ

3. ด้านนโยบาย 10. การบังคับใช้กฎหมาย

11. การประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้และการมีส่วนร่วมของประชาชนต่อโครงการฯ

12. การติดตามประเมินผลการทำงานของกิจกรรมการแก้ปัญหาน้ำเสีย

1. การรวบรวมข้อมูลคุณภาพน้ำ เพื่อหาแหล่งกำเนิดต้นเหตุของปัญหาน้ำเสียเพื่อนำไปประกอบการบังคับใช้กฏหมาย

2. รายงานของระบบสามารถสร้างความรับรู้และการมีส่วนร่วมของชุมชน ในด้านการรายงานสถานการณ์ปัจจุบัน การคาดการณ์คุณภาพและการแจ้งเตือน แสดงสถานการณ์ในภาพรวมของทั้งคลอง

3. ระบบสามารถจัดเก็บและเรียกดูข้อมูลย้อยหลังเพื่อนำมาติดตาม และประเมินผลการดำเนินการต่างได้

 

วิธีการดำเนินงาน

  1. ติดตั้งสถานีวัดคุณภาพน้ำหลากชนิดทั้งระดับน้ำ การไหลของน้ำ คุณภาพน้ำ ภาพวิดีโอ และอื่นๆ ทุก ๆ ประมาณ 2 กิโลเมตรต่อสถานี จำนวน 20 สถานี ตามจุดที่สำคัญตลอดความยาวคลองในพื้นที่นำร่อง
  2. ติดตั้งซอฟแวร์วิเคราะห์และคาดการณ์ สามารถแสดงผลข้อมูลสรุปในภาพรวมของคลอง โดยนำข้อมูลจากสถานีตรวจวัด รวมทั้งการเชื่อมโยงข้อมูลที่จำเป็นจากหน่วยต่าง ๆ
    มาวิเคราะห์สถานการณ์ เช่น การไหลของน้ำ การเกิดน้ำท่วม น้ำล้นตลิ่ง ปัญหาคุณภาพน้ำ สิ่งกีดขวางทางน้ำ เป็นต้น รวมทั้งวิเคราะห์แหล่งที่มาของต้นเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาคุณภาพน้ำ ซึ่งจะสามารถขยายผลลักษณะการเฝ้าตรวจและการบริหารจัดการการบำบัดที่เหมาะสม ไปสู่คลองอื่น ๆ ได้ พร้อมทั้งแจ้งข้อมูลไปยังผู้บริหาร หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประชาชน และเครือข่ายชุมชน เพื่อเตรียมการและนำไปสู่การบริหารจัดการ และแก้ไขปัญหาที่ถูกต้องตรงจุด โดยมีการแจ้งเตือนผ่านโครงการเชื่อมโยงการสื่อสารระหว่างภาครัฐและประชาชน ปัญหาด้านมลพิษและสภาพน้ำจะแจ้งไปยังสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัด ปัญหาด้านสิ่งกีดขวางทางน้ำแจ้งไปยังสำนักงานโยธาธิการและผังเมืองจังหวัด ปัญหาด้านน้ำล้นตลิ่งแจ้งไปยังสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด พร้อมทั้งแจ้งให้เจ้าของพื้นที่ทราบด้วย ได้แก่ โครงการชลประทานสมุทรปราการ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อจะได้จัดส่งเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่ตรวจสอบข้อเท็จจริง สั่งการตามอำนาจหน้าที่ เช่น เปิดปิดประตูระบายน้ำ/สถานีสูบน้ำ จัดเก็บตัวอย่างไปตรวจสอบ จัดเก็บสิ่งกีดขวาง เป็นต้น หรือดำเนินการตามกฎหมายต่อไป ในอีกทางหนึ่งก็จะมีการแจ้งเตือนให้ประชาชน และเครื่องข่ายเฝ้าระวังคุณภาพน้ำ ทราบด้วย ซึ่งเป็ผู้ที่อยู๋ใกล้พื้นที่ที่สุด เพื้อให้เฝ้าระวังและสังเกตุการณ์ถึงต้นเหตุที่ทำให้เกิดปัญหา และสามารถรายงานให้ภาครัฐทราบด้วย
  3. ติดตั้งเครื่องบำบัดน้ำเสียและเติมอากาศแบบในจุดที่วิเคราะห์ข้อมูลจนทราบแล้วว่ามีปัญหาหรือต้องเฝ้าระวังน้ำ และติดตั้งเครื่องบำบัดน้ำเสียและเติมอากาศแบบเคลื่อนที่ได้ในจุดที่พบปัญหาชั่วคราว
  4. สร้างเครือข่ายเฝ้าระวังคุณภาพน้ำ ประมาณ 12 แห่ง เฉลี่ยอำเภอละ 3 แห่ง โดยจะเป็นเครือข่ายของประชาชนหรือชุมชนที่อยู่อาศัยติดกับสองฝั่งของคลองหรือห่างจากคลองไม่มากนักสามารถสังเกตการณ์และทำกิจกรรมต่างๆ เพื่อพัฒนาคลองได้ โดยจะจัดอบรมให้ความรู้แก่เครือข่ายเพื่อให้มีส่วนร่วมในการพัฒนาคลอง สังเกตุการณ์ เฝ้าระวัง รวมทั้งแจ้งเตือนสถานการณ์ต่าง ๆ และเสนอโครงการกิจกรรมที่ช่วยในการพัฒนาและแก้ไขปัญหาต่างๆ ของคลอง โดยภาครัฐจะมีส่วนสนับสนุนการดำเนินกิจกรรม ซึ่งเครือข่ายสามารถแจ้งหรือรายงานสถานการณ์ได้ตลอดเวลาผ่านโครงการเชื่อมโยงการสื่อสารระหว่างภาครัฐและประชาชน ซึ่งจะระบุพิกัดและประเภทของปัญหา เพื่อหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องจะได้ดำเนินการตามความเหมาะสมต่อไป
  5. การประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน
  6. แต่งตั้งคณะทำงานในการดำเนินโครงการ โดยมีผู้แทนจากสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัด สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัด สำนักงานโยธาธิการและผังเมืองจังหวัด สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด โครงการชลประทานสมุทรปราการ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่รับผิดชอบพื้นที่คลอง ผู้แทนเครือข่ายเฝ้าระวัง รวมถึงภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เป็นคณะทำงาน เพื่อกำกับติดตาม ประเมินผลและกำหนดแผนงานในการการดำเนินโครงการ รับการแจ้งเตือนประสานภายในหน่วยงานดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ วิเคราะข้อมูลนำตัวอย่างน้ำส่งตรวจสอบ หาแหล่งที่มาต้นเหตุของปัญหา กำหนดจุดติดตั้งเครื่องบำบัดและเติมอากาศ ทุก 1 – 2 เดือน พร้อมทั้งรายงานผลการดำเนินการให้คณะกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ (Smart City) จังหวัดสมุทรปราการทุก 6 เดือนเป็นอย่างน้อย
  7. การบำรุงรักษาสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดจัดหางบประมาณในการบำรุงรักษาสถานีตรวจวัดคุณภาพน้ำ เครื่องบำบัดและเติมออกซิเจนในน้ำ การดูแลพัฒนาซอฟแวร์วิเคราะห์และคาดการณ์ รวมทั้งการส่งตัวอย่างน้ำไปตรวจสอบและการสอบทานอุปกรณ์ตรวจวัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่รับผิดชอบพื้นที่คลองจัดหางบประมาณในการกำจัดผักตบชวาหรือสิ่งกีดขวาง
    ทางน้ำ รวมทั้งการบำบัดหรือปรับปรุงคุณภาพน้ำ

ผลที่คาดหวัง

ระยะสั้น

  • ทราบถึงสถานการณ์ปัจจุบันของน้ำ เช่น ระดับน้ำ การไหลของน้ำ คุณภาพน้ำ
    และวัชพืชกีดขวางทางน้ำ เป็นต้น
  • สามารถตรวจสอบและทราบที่มาของต้นกำเนิดที่ทำให้เกิดปัญหาคุณภาพน้ำ
  • ส่งข้อมูลและตัวอย่างให้ผู้เชี่ยวชาญวิเคราะห์ข้อมูลระบุปัญหาและวิธีการแก้ปัญหาได้
  • ลดผลการะทบและความเสียหายจากน้ำล้นตลิ่ง

ระยะกลาง

  • สามารถแก้ไขปัญหาคุณภาพน้ำได้ ทำให้คุณภาพน้ำมีค่าที่ดีขึ้น และมีการกำจัดวัชพืชอย่างเป็นระบบ
  • เพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำ เพิ่มพื้นที่รองรับการระบายน้ำและกักเก็บน้ำในหน้าแล้ง
  • สามารถวางแผนการแก้ไขปัญหาในระยะยาวได้

ระยะยาว

  • มีเครือข่ายเฝ้าระวังในชุมชนที่มีประสิทธิภาพ สามารถช่วยพัฒนา และเฝ้าระวังการแหล่งที่มาของการเกิดปัญหาคุณภาพน้ำ เช่น ปล่อยน้ำเสียหรืออื่น ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • น้ำในคลองทั้งหมดมีคุณภาพได้มาตรฐาน สามารถต่อยอดไปสู่การเดินทางน้ำ และพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวได้

ผลกระทบในเชิงเศรษฐกิจและสังคม

  • น้ำในคลองมีคุณภาพได้มาตรฐาน ประชาชนริมน้ำได้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดี ส่งผลต่อสุขอนามัยของประชาชน
  • ทำให้เกิดเส้นทางคมนาคมทางน้ำ และมีการท่องเที่ยวทางน้ำ สร้างรายได้ให้กับชุมชนริมน้ำ ขับเคลื่อนเศรษฐกิจในจังหวัด
  • สร้างภาพลักษณ์ที่ดีด้านการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างถูกวิธี เป็นต้นแบบ
    ในการพัฒนาสู่คลองต่าง ๆ ให้มีคุณภาพน้ำที่ดีต่อไป
  • ทำให้ทรัพยากรธรรมชาติดำรงอยู่อย่างยั่งยืนและมีความอุดมสมบูรณ์
  • มีในการระบายน้ำที่ดี ลดการเกิดปัญหาอุทกภัย
  • มีแหล่งกักเก็บเพื่อใช้ในช่วงฤดูแล้ง