ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรปราการ เป็นประธานการประชุมนายอำเภอ และหัวหน้าส่วนราชการสังกัดกระทรวงมหาดไทย ครั้งที่ 7/2565
วันที่ 27 กรกฎาคม 2565 เวลา 08.00 น. นายวันชัย คงเกษม ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรปราการ เป็นประธานการประชุมนายอำเภอ และหัวหน้าส่วนราชการสังกัดกระทรวงมหาดไทย ครั้งที่ 7/2565 ณ ห้องประชุมสำนักงานเหล่ากาชาดจังหวัดสมุทรปราการ โดยมี นายศุภมิตร ชิณศรี รองผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรปราการ นายชัยพจน์ จรูญพงศ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรปราการ นายเจนเจตน์ เจนนาวิน รองผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรปราการ นายประทีป นทีทวีวัฒน์ ปลัดจังหวัดสมุทรปราการ นายภูธนะ ชมภูมิ่ง หัวหน้าสำนักงานจังหวัดสมุทรปราการ พร้อมด้วยหัวหน้าส่วนราชการในสังกัดกระทรวงมหาดไทย และนายอำเภอ เข้าร่วมการประชุมโดยพร้อมเพรียง
ที่ประชุมได้มีการหารือในประเด็นสรุปผลตัวชี้วัดการทำงานของอำเภอประจำเดือนกรกฎาคม 2565 และตัวชี้วัดการทำงานของอำเภอประจำเดือนสิงหาคม 2565 เพื่อขับเคลื่อนโครงการสำคัญของกรมการปกครองประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565(10Flagships to DOPA New Normal 2022) ผลการบันทึกข้อมูลรายครัวเรือนผ่านระบบ ThaiQM และ TPMAP จังหวัดสมุทรปราการ และเป้าหมายการบันทึกข้อมูลครัวเรือนและการแก้ไขปัญหาผ่านระบบ ThaiQM จังหวัดสมุทรปราการ ผลการดำเนินงานศูนย์อำนวยการจิตอาสาพระราชทาน จังหวัดสมุทรปราการ สรุปผลการดำเนินการออกจัดระเบียบสังคม และการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ ผลการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในพื้นที่จังหวัดสมุทรปราการ และสรุปผลการเบิกจ่ายงบประมาณ ประจำปี พ.ศ. 2565
ในการนี้ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรปราการได้มีข้อเน้นย้ำ ข้อสั่งการในประเด็นสำคัญ ดังนี้
1. การป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโควิด – 19
ด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด – 19 ยังคงมีการระบาดอย่างต่อเนื่อง เพื่อป้องกันและยับยั้งมิให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด – 19 ระลอกใหม่อีกครั้ง
จึงขอเน้นย้ำให้ทุกส่วนราชการ ประชาสัมพันธ์ให้บุคลากร เจ้าหน้าที่ภายในหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนในพื้นที่ ดังนี้
1) ฉีดวัคซีนป้องกันโควิด – 19 เข็มกระตุ้นอย่างต่อเนื่องตามจุด Walkin ฉีดวัคซีนที่ทางจังหวัดกำหนด โดยเฉพาะกลุ่มเด็กนักเรียน และกลุ่ม 608 เพื่อสร้างภูมิคุ้มกัน ลดโอกาสการป่วยหนัก
และเสียชีวิต
2) ร้านจำหน่ายอาหารและเครื่องดื่ม ห้างสรรพสินค้าร้านสะดวกซื้อ และสถานที่ที่มีผู้ใช้บริการเป็นจำนวนมาก เน้นย้ำให้ปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ มาตรการป้องกันโรค และคำแนะนำของทาง
ราชการ
3) สวมใส่หน้ากากอนามัย ในขณะที่อยู่ร่วมกับบุคคลอื่นจำนวนมากในสถานที่แออัด และเว้นระยะห่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่ม 608และผู้สัมผัสเสี่ยงสูง
4) หมั่นล้างมือด้วยน้ำสบู่หรือเจลแอลกอฮอล์ ตรวจวัดอุณหภูมิ ตรวจหาเชื้อโรคโควิด – 19 โดยเฉพาะผู้ที่มีอาการน่าสงสัยและมีประวัติสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ที่สงสัยติดเชื้อ ให้รีบพบแพทย์และแจ้งข้อมูลเพื่อเข้ารับการรักษาอย่างทันท่วงที
2. การป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัย
ด้วยขณะนี้ประเทศไทยอยู่ในช่วงฤดูฝน เพื่อให้การเตรียมการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัย เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ จึงขอเน้นย้ำให้ทุกหน่วยงานและส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการ ดังนี้
1) ให้สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดสมุทรปราการ อำเภอ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเตรียมความพร้อมด้านกำลังคน เครื่องจักรกลสาธารณภัยในการช่วยเร่งการระบายน้ำ กรณีเกิดน้ำท่วมขังในพื้นที่ และให้ดำเนินตามแผนเผชิญเหตุ รวมทั้งเตรียมระบบแจ้งเตือนให้ประชาชนทราบเมื่อเกิดเหตุ
2) ให้สำนักงานโยธาธิการและผังเมืองจังหวัดสมุทรปราการ โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาชลหารพิจิตร โครงการซลประทานสมุทรปราการ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตรวจสอบสภาพ
ความมั่นคง และซ่อมแซม/ปรับปรุงพนังกั้นน้ำ ประตูระบายน้ำรวมทั้งระบบระบายน้ำ
3) ให้แขวงทางหลวงสมุทรปราการ แขวงทางหลวงชนบทสมุทรปราการ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จัดเก็บขยะมูลฝอยและสิ่งกีดขวางทางน้ำ ลอกท่อระบายน้ำตามแนวถนน เพื่อเพิ่มการระบายน้ำให้สะดวกรวดเร็ว ป้องกันมีให้เกิดน้ำท่วมขังบนพื้นผิวจราจร
4) ให้สำนักงานโยธาธิการและผังเมืองจังหวัดสมุทรปราการ โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาชลหารพิจิตร โครงการชลประทานสมุทรปราการ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ดำเนินการขุดลอก
คูคลอง กำจัดผักตบชวาและวัชพืช และจัดเก็บขยะมูลฝอยและสิ่งกีดขวางทางน้ำตามคลองสายหลักและคลองสาขาอย่างต่อเนื่อง
3. การขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาความยากจนผ่านกลไกศูนย์อำนวยการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (ศจพ.)
ด้วยกระทรวงมหาดไทยมีนโยบายในการขับเคลื่อนการดำเนินงานของศูนย์อำนวยการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (ศจพ.) ในระดับพื้นที่ ด้วยเมนูแก้จน 5 ด้าน จาก TPMAP ได้แก่ 1) สุขภาพ 2) ความเป็นอยู่ 3) การศึกษา 4) ด้านรายได้ และ 5) การเข้าถึงบริการภาครัฐ
เพื่อให้การดำเนินการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เกิดผลสัมฤทธิ์ จึงขอเน้นย้ำให้ทุกหน่วยงานและส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการ ดังนี้
1) ให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง อำเภอ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เร่งรัดการดำเนินการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 30 กันยายน 2565 และรายงานผลความก้าวหน้าการให้ความช่วยเหลือในระบบ Logbook อย่างต่อเนื่อง
2) ให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง อำเภอ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประชาสัมพันธ์การดำเนินโครงการ/กิจกรรมแก้ไขปัญหาความยากจน เพื่อสร้างการรับรู้และการมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาของภาคส่วนต่าง ๆ