จังหวัดสมุทรปราการ ประชุมติดตามการดำเนินงานด้านยาเสพติดในพื้นที่

จังหวัดสมุทรปราการ ประชุมติดตามการดำเนินงานด้านยาเสพติดในพื้นที่

จังหวัดสมุทรปราการ ประชุมติดตามการดำเนินงานด้านยาเสพติดในพื้นที่

     วันที่ 18 มิถุนายน 2567 นายศุภมิตร ชิณศรี ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรปราการ เป็นประธานการประชุมติดตามผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการเร่งรัดการดำเนินงานป้องกัน ปราบปราม และแก้ไขปัญหายาเสพติดจังหวัดสมุทรปราการ ระยะเร่งด่วน 3 เดือน (1 มิถุนายน – 31 สิงหาคม 2567) ครั้งที่ 1 /2567 ณ ห้องประชุม 1 ศาลากลางจังหวัดสมุทรปราการ โดยมี ศูนย์อำนวยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดจังหวัดสมุทรปราการเป็นฝ่ายเลขานุการของการประชุมฯ มีผู้แทนจากสำนักงาน ปปส. ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดสมุทรผราการ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดสมุทรปราการ สวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดสมุทรปราการ แรงงานจังหวัดสมุทรปราการ และผู้แทนส่วนราชการต่าง ๆ ในพื้นที่เข้าร่วมประชุมอย่างพร้อมเพรียง
      การประชุมในครั้งนี้ มีวาระที่สำคัญ คือ การให้คณะกรรมการ คณะทำงาน รับทราบถึงแนวทางการดำเนินงานด้านยาเสพติดในพื้นที่ว่า จะมีการประเมินผลการดำเนินงานอย่างเข้มข้น ในช่วง 3 เดือนนี้ (มิถุนายน – สิงหาคม) โดยจะมีค่าตัวชี้วัดหรือว่า KPI เพื่อกำหนดในการดำเนินงานจำนวน 34 ตัวชี้วัด และมีเกณฑ์การวัดผลจำนวน 14 ข้อ คือ
1.เป้าหมายถูกดำเนินการและได้รับการแก้ไข (22 คะแนน) / 2.การดำเนินการต่อเจ้าหน้าที่รัฐในจังหวัดที่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด (3 คะแนน) / 3.การบังคับใช้กฎหมายมาตรการ สมคบ สนับสนุน ช่วยเหลือ (4 คะแนน) /4.การยึด อายัดทรัพย์สินคดียาเสพติด จากการดำเนินการจับกุมความผิดร้ายแรงเกี่ยวกับยาเสพติดตามประมวลกฎหมายยาเสพติด (4 คะแนน) / 5.การควบคุมปัจจัยเสี่ยง โดยจัดระเบียบสังคมในพื้นที่สถานบันเทิงและบริเวณรอบสถานศึกษาในพื้นที่เป้าหมายชุมชนแพร่ระบาดยาเสพติด (4 คะแนน) /6.การให้ความสำคัญของผู้ว่าฯ และหัวหน้าส่วนราชการ ในการเข้าร่วมประชุมเพื่อตัดสินใจ สั่งการ และติดตามงาน (3 คะแนน) /7.การปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพ (4 คะแนน) / 8.งานข่าวผลกระทบผู้มีอาการทางจิตเวชจากยาเสพติดลดลงเมื่อเทียบจากห้วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา (3 คะแนน) /9.การดูแลช่วยเหลือและฟื้นฟูสภาพสังคม (4 คะแนน) /10.จังหวัดมีความพร้อมรองรับผู้มิอาการทางจิตเวชจากยาเสพติดที่ผ่านการบำบัดและดูแลจนไม่ก่อความรุนแรงและบุคคลอื่น (4 คะแนน) / 11.จังหวัดมีนวัตกรรมหรือศูนย์การเรียนรู้ (3 คะแนน) /12.เครือข่ายภาคประชาชน องค์กรบริหารส่วนท้องถิ่นมีส่วนร่วมและสนับสนุนในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด (2 คะแนน) /13.สถานการณ์ปัญหายาเสพติดลดลง (10 คะแนน) และตัวชี้วัดที่ 14.ความพึงพอใจและความเชื่อมั่นของประชาชนต่อการดำเนินงานป้องกัน ปราบปรามและแก้ไขปัญหายาเสพติด (30 คะแนน)
แหล่งที่มา : สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดสมุทรปราการ