สมุทรปราการสมาร์ทซิตี้ – โครงการเฝ้าระวังน้ำทะเลหนุนสูง

โครงการเฝ้าระวังน้ำทะเลหนุนสูง

เทคโนโลยี/นวัตกรรม   

  • ระบบการตรวจวัดระดับน้ำและอัตราการไหลของน้ำอัตโนมัติ
  • ระบบวิเคราะห์และแจ้งเตือนระดับน้ำทะเลหนุนที่มีผลกระทบต่อประชาชนจากหลายปัจจัย
  • ระบบรายงานสถานการณ์ รับแจ้งเหตุและเรื่องร้องเรียน

เป้าหมาย

  • แจ้งเตือนเจ้าหน้าที่และประชาชนที่เกี่ยวข้องเพื่อเตรียมพร้อมรับมือน้ำทะเลหนุนได้เป็นรายพื้นที่
  • ลดผลกระทบและความเสียหายที่เกิดจากน้ำทะเลหนุน
  • เพื่อศึกษากระบวนการวิธีป้องกันและแก้ไขปัญหา
  • สร้างเครือข่ายการเฝ้าระวังและแจ้งเตือนภัย

ตัวชี้วัด

  • พื้นที่ชายฝั่งหรือตลิ่งริมคลองได้รับการเฝ้าระวังเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 เมื่อเทียบกับก่อนดำเนินโครงการ
  • สามารถแจ้งเตือนน้ำทะเลหนุนที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อประชาชนได้มีน้อยกว่า 3 วัน โดยมีความถูกต้องไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

งบประมาณ 27,000,000 บาท

 

รายละเอียดโครงการ

ความสอดคล้องกับโจทย์ปัญหาเมือง และกลุ่มเป้าหมายผู้รับประโยชน์

ปัจจุบันสภาวะภูมิอากาศของโลกมีการเปลี่ยนแปลงทำให้เกิดผลกระทบในวงกว้างโดยเฉพาะอย่างยิ่งพฤติกรรมการเกิดพายุเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมทั้งทางด้านเส้นทางการเคลื่อนตัวและความรุนแรงซึ่งทำให้พื้นที่ ผลกระทบอย่างหนึ่งที่เกิดกับพื้นที่ที่อยู่ใกล้ชายฝั่งทะเล ได้แก่ ภาวะน้ำท่วมฉับพลันเนื่องจากคลื่นพายุหมุน
ซัดชายฝั่งขนาดใหญ่ หรือที่เรียกว่า สตอรมเชิร์จ (Storm Surge) ทำให้มีน้ำทะเลหนุนสูง จังหวัดสมุทรปราการเป็นจังหวัดที่มีความเสี่ยงต่อภาวะน้ำท่วมเนื่องจาก Storm Surge เนื่องจากมีความยาวของชายฝั่งทะเลประมาณ 45 กม. และติดกับปากแม่น้ำเจ้าพระยา โดยจุดที่มีความเสี่ยง ได้แก่ ตลาดปากน้ำ ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ปากอ่าวไทย ขณะที่ถนนสายหลักอย่างถนนสุขุมวิทสายเก่าจากตลาดปากน้ำ (ตำบลปากน้ำ) มุ่งหน้าไปยังพื้นที่ติดต่อกับอำเภอบางปะกงจังหวัดฉะเชิงเทรา (รวมระยะทาง 41.5 กิโลเมตรในจังหวัดสมุทรปราการ) มีปริมาณน้ำทะเลท่วมขังบนพื้นผิวการจราจรบางส่วน ทำให้การสัญจรติดขัด นอกจากนี้ยังมีพื้นที่บริเวณตำบลบางปู ซึ่งเป็นย่านที่พักอาศัยมีน้ำทะเลไหลเข้าพื้นที่บ้านเรือนประชาชน สร้างความเสียหายให้กับทรัพย์สิน ยานพาหนะ นอกจากนี้การมีภาวะน้ำทะเลหนุนจะทำให้ไม่สามารถระบายน้ำที่มาจากที่ราบลุ่มภาคกลาง ทำให้ประชาชนได้รับผลกระทบเป็นวงกว้าง ถึงแม้ว่ามีโอกาสน้อยที่จะเกิด Storm Surge
ในอ่าวไทยตอนบนด้านทะเลจังหวัดสมุทรปราการ แต่ถ้าเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นจะมีผลกระทบต่อประชาชนและเศรษฐกิจอย่างยิ่ง ดังนั้นจึงมีความจำเป็นต้องมีการเฝ้าระวังระดับน้ำทะเลเนื่องจาก Storm Surge เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับในการวางแผนในการลดผลกระทบ การเตรียมความพร้อม การตอบสนองและการฟื้นฟู

วิธีการ ขั้นตอนการดำเนินงาน ระยะเวลาดำเนินการ

  • ติดตั้งสถานีการวัดระดับน้ำทะเล ค่าความเค็ม กระแสน้ำ และค่าอื่นๆ ในจุดที่มีความเสี่ยง ในทุก ๆ ประมาณ 2 กิโลเมตรต่อสถานี ทั้งหมดจำนวน 20 สถานี ได้แก่ บริเวณแม่น้ำเจ้าพระยา และคลองชายทะเลแนวถนนสุขุมวิท เพื่อวัดระดับน้ำ อัตราการไหล และอื่น ๆ
  • ติดตั้งซอฟแวร์จะวิเคราะห์ข้อมูลจากสถานี ข้อมูลสถิติย้อนหลัง และข้อมูลที่เกี่ยวกับการพยากรณ์อากาศ โดยนำข้อมูลทางดาราศาสตร์ ข้อมูลอุตุนิยมวิทยา และข้อมูลที่ตรวจวัดได้จากสถานีวัดระดับน้ำบริเวณชายฝั่งทะเลและคลองต่างๆ ซึ่งจะมีข้อมูลทั้งระดับน้ำทะเลและระดับน้ำในคลลอง นำมาวิเคาะห์อย่างละเอียดเพื่อให้พยากรการเกิดน้ำทะเลหนุนได้เป็นรายพื้นที่ พร้อมทั้งแจ้งเตือนข้อมูลไปยังประชาชนผ่านโครงการเชื่อมโยงการสื่อสารระหว่างภาครัฐและประชาชนให้เตรียมความพร้อม เช่น การขนของขึ้นที่สูง เป็นต้น และแจ้งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย สถานีตำรวจในพื้นที่ โครงการชลประทาน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เตรียมความพร้อมด้วย เช่น ซ่อมแซมหรือเตรียมกั้นกระสอบสายตามแนวตลิ่งที่ชำรุดเสียหายหรือเกิดเหตุการณ์บ่อยครั้ง เตรียมการพร่องน้ำหรือเปิดปิดประตูระบายน้ำตามแผนรับมือ เตรียมการแจ้งเปลี่ยนเส้นทางการจราจรที่เกิดปัญหาเป็นต้น
  • สร้างเครือข่ายเฝ้าระวังระดับน้ำให้แก่พื้นที่ประมาณ 9 เครือข่ายที่อาจจะได้รับผลกระทบจากน้ำทะเลหนุน โดยจะแบ่งเป็นอำเภอที่ติดแนวชายฝั่งทะเล 3 อำเภอ อำเภอละ 3 เครือข่ายโดยมีหน้าที่ในการเฝ้าระวังแนวตลิ่งที่ชำรุดเสียหาย แจ้งเตือนบอกต่อประชาชนในพื้นที่หรือชุมชนกาได้รับการแจ้งเตือน รายงานสถานกาณ์และผลกระทบเมื่อเกิดสถานการณ์
  • ประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้ต่อโครงการให้ทราบถึงการปฏิบัติตนเมื่อได้รับการแจ้งเตือน
  • สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยติดตามสถานการณ์ การแจ้งเตือน และผลการพยากรณ์ และรายงานผลการดำเนินการให้คณะกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ (Smart City) จังหวัดสมุทรปราการทุก 6 เดือนเป็นอย่างน้อย
  • การบำรุงรักษา สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดจัดหางบประมาณในการบำรุงรับษาสถานนีวัดระดับน้ำ และการบำรุงรักษาและพัฒนาซอฟแวร์วิเคราะห์ข้อมูล

ผลลัพธ์ที่คาดหวัง

ระยะสั้น

  • ทราบสถานการณ์ระดับน้ำปัจจุบัน และการพยากรณ์ระดับน้ำล่วงหน้า
  • หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และประชาชนทราบ ล่วงหน้าก่อนเกิดสถานการณ์น้ำทะเลหนุนหรือน้ำท่วมขัง โดย ผ่านช่องทางออนไลน์ต่างๆ ของจังหวัด
  • ลดความเสียหายต่อทรัพย์สิน

ระยะกลาง

  • สามารถคาดการณ์สถานการณ์น้ำได้แม่นยำ
  • สามารถหาแนวทางการป้องกันและลดผลกระทบจากสถานการณ์น้ำทะเลหนุนได้
  • มีข้อมูลสำหรับการวางแผนและประเมินโครงการการป้องกันน้ำท่วม

ระยะยาว

  • ประชาชนมีความมั่นใจในการใช้ชีวิตประจำวัน และประกอบธุรกิจ สามารถวางแผนและเตรียมความพร้อมรับสถานการณ์ได้ล่วงหน้า
  • เมื่อน้ำทะเลหนุนจะไม่เกิดผลกระทบต่อประชาชน
  • ผลกระทบในเชิงเศรษฐกิจและสังคม
  • ประชาชนมีความมั่นใจสามารถวางแผนในการรับมือหรือตอบสนองต่อภาวะ
    น้ำทะเลหนุน ลดผลกระทบในด้านเศรษฐกิจและสังคม
  • ลดความเสียหาย และลดผลกระทบในด้านเศรษฐกิจและสังคม