สมุทรปราการสมาร์ทซิตี้ – โครงการการเฝ้าระวังคุณภาพอากาศและเหตุฉุกเฉิน (สารเคมีระเบิด/รั่วไหล ไฟไหม้)

โครงการการเฝ้าระวังคุณภาพอากาศและเหตุฉุกเฉิน (สารเคมีระเบิด/รั่วไหล ไฟไหม้)

เทคโนโลยี/นวัตกรรม

  • สถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศอัตโนมัติ
  • ระบบวิเคราะห์และแจ้งเตือนคุณภาพอากาศและเหตุฉุกเฉิน แสดงผลและแบบ Real-time
  • ระบบรายงานสถานการณ์ รับแจ้งเหตุและเรื่องร้องเรียน

เป้าหมาย

  • เพื่อทราบค่าคุณภาพอากาศแบบ real-time
  • ป้องกันและลดความเสียหายจากเหตุฉุกเฉิน
  • สร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับคุณภาพอากาศให้แก่ประชาชน
  • เพื่อศึกษาหาแหล่งที่มา และวิธีการลดมลพิษทางอากาศ และปรับปรุงพัฒนาแผนแก้ไขคุณภาพอากาศ
  • สามารถแจ้งเตือนคุณภาพอากาศและเหตุฉุกเฉินให้ประชาชนและเจ้าหน้าที่เตรียมความพร้อมรับมือหรือแก้ไขปัญหา

ตัวชี้วัด

  • มีช่วงเวลาที่คุณภาพอากาศเฉลี่ยรายวันอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานเพิ่มร้อยละ 10 เมื่อเทียบกับก่อนดำเนินโครงการ
  • สามารถแจ้งเตือนคุณภาพอากาศ และเหตุฉุกเฉินที่เกิดขึ้นได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

งบประมาณ 52,000,000 บาท

 

รายละเอียดโครงการ

ความสอดคล้องกับโจทย์ปัญหาเมือง และกลุ่มเป้าหมายผู้รับประโยชน์

สมุทรปราการเป็นจังหวัดที่มีจำนวนโรงงานมากที่สุดในประเทศ มีนิคมอุตสาหกรรม 4 แห่ง และเป็นเมืองปริมณฑลที่รองรับการขยายตัวด้านที่อยู่อาศัย ด้านขนส่งมวลชน และการค้า การลงทุน และจากการพัฒนาทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติและพลังงานมากขึ้นในกระบวนการผลิต
ซึ่งมีโอกาสที่จะเป็นแหล่งกำเนิดมลพิษทางอากาศ ทั้งทางตรงและทางอ้อมที่จะส่งผลกระทบต่อปัญหาสิ่งแวดล้อมที่รุนแรงขึ้น ทำให้สิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรม ประชาชนผู้อาศัยได้รับสารพิษทางอากาศจนต้องเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล และพบว่าผู้ป่วยโรคระบบทางเดินหายใจมากกว่าโรคอื่น ๆ ดังนั้น จึงมีความจำเป็นที่จะต้องพัฒนาภาคอุตสาหกรรมในพื้นที่จังหวัดสมุทรปราการเป็นอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ เพื่อให้เกิดความสมดุลระหว่างเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม และการอยู่อาศัย เพื่อลดผลกระทบที่จะเกิดต่อสิ่งแวดล้อมและสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างยั่งยืน พอเพียง มุ่งลดปริมาณมลพิษ พัฒนาเมืองที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม นอกเหนือจากปัญหามลพิษที่เกิดจากการโรงงานอุตสาหกรรมแล้ว สภาพการจราจรที่ติดขัดก็ทำให้เกิดมลพิษทางอากาศ นอกจากนี้ยังอาจเกิดจากเหตุฉุกเฉินในโรงงานโดยเฉพาะ การระเบิด การรั่วไหลของสารเคมี การเกิดไฟไหม้และเนื่องจากเมืองสมุทรปราการมีโรงงานอุตสาหกรรมอยู่เป็นจำนวนมาก จึงมีเหตุฉุกเฉินบ่อยและส่งผลกระทบต่อชุมชนในแง่ของความปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สิน และอาจทำให้เกิดมลภาวะทางอากาศที่จะกระทบต่อชุมชนเป็นบริเวณกว้าง สาเหตุเหล่านีต้องการวิธีเฝ้าระวังและการบริหารจัดการที่แตกต่างกันหรือหลายวิธีผสมผสานกัน ซึ่งตามวิสัยทัศน์ของจังหวัดสมุทรปราการต้องการให้เป็นเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศและเป็นเมืองอุตสาหกรรมปลอดภัย ซึ่งเกณฑ์ของการเป็นเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศนั้นกำหนดให้ต้องการจัดการด้านภัยพิบัติ ดังนั้น จึงต้องมีระบบเตือนภัยพิบัติ โดยมีการเฝ้าระวังคุณภาพอากาศและการบริหารจัดการเหตุฉุกเฉิน (สารเคมีระเบิด /รั่วไหล ไฟไหม้)  โดยใช้เทคโนโลยีด้านเซนเซอร์เพื่อการติดตั้งสถานีหลักตรวจวัดคุณภาพอากาศหลากชนิดให้ครอบคลุมทั้งพื้นที่ชุมชน และอุตสาหกรรมที่อาจเป็นแหล่งกำเนิดบริเวณชุมชน หรือบริเวณที่มีความเสี่ยง มีซอฟต์แวร์ระบบสามารถคาดการณ์คุณภาพและการแจ้งเตือนแสดงสถานการณ์ในภาพรวมของพื้นที่ ซอฟต์แวร์ระบบเชื่อมโยงข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการรักษาคุณภาพอากาศ เช่น การพยากรณ์อากาศ ความกดอากาศ ความชื้น ปริมาณน้ำฝน ทิศทางลมเป็นต้น มีซอฟต์แวร์ระบบที่สามารถทำงานร่วมกับเครือข่ายเฝ้าระวังคุณภาพอากาศ ในด้านการรายงานสถานการณ์ปัจจุบัน การคาดการณ์คุณภาพและการแจ้งเตือน แสดงสถานการณ์ในภาพรวมของพื้นที่เสี่ยง พร้อมทั้งการติดป้ายแสดงคุณภาพอากาศและคำแนะนำในการการปฏิบัติตัวในสถานการณ์ต่างๆ เพื่อสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับคุณภาพอากาศให้แก่ประชาชน

วิธีการ ขั้นตอนการดำเนินงาน ระยะเวลาดำเนินการ

  • ติดตั้งสถานีหลักวัดคุณภาพอากาศหลากชนิด และติดตั้งเซนเซอร์ตรวจจับเหตุฉุกเฉิน เช่น สารเคมีรั่วไหล ไฟไหม้ และระเบิด เป็นต้น ในพื้นที่เทศบาลเมืองบางปู 4 ตำบล ได้แก่ ตำบลท้ายบ้าน ตำบลท้ายบ้านใหม่ ตำบลบางปู และตำบลบางปูใหม่ ตำบลละ 5 สถานี ได้แก่ บริเวณนิคมอุตสาหกรรมบางปู และชุมชนโดยรอบที่อาจจะได้รับผลกระทบจากปัญหาคุณภาพอากาศหรือ เหตุฉุกเฉิน
  • ติดตั้งซอฟต์แวร์เพื่อเก็บข้อมูลจากสถานี้ตรวจวัด และเชื่อมโยงข้อมูลจากหน่วยที่เกี่ยวข้อง ซึ่งค่าอากาศต่างๆ สามารถระบุชนิดสารเคมีหรือแก๊สที่ปนเปื้อนในอากาศทำให้ทราบได้ว่าต้นเหตุมาจากสถานที่ใด จากข้อมูลของโรงงานต่าง รวมทั้งทราบถึงการเกิดเหตุไฟใหม้ และการเกิดระเบิดหรือเสี่ยงต่อการเกิดระเบิดได้ โดยนำข้อมูลมาวิเคราะห์คาดการณ์แนวโน้มและแสดงผลคุณภาพอากาศ เพื่อให้สามารถระบุปัญหาคุณภาพอากาศ และเหตุฉุกเฉิน รวมทั้งหาสาเหตุและแหล่งที่มาของปัญหา สามารถหาแนวทางการป้องกันในอนาคตได้ ซึ่งหากเกิดเหตุระบบจะแจ้งเตือนไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดสมุทรปราการ สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดสมุทรปราการ สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดสมุทรปราการ และเทศบาลตำบลบางปู รวมทั้งประชาชนที่อาจจะได้รับผลกระทบทราบ ผ่านทางโครงการเชื่อมโยงการสื่อสารระหว่างภาครัฐและประชาชน เพื่อหน่วยงานภาครัฐจะได้ลงพื้นที่ตราวจสอบและสั่งการดำเนินการตามแผน ประชาชนสามารถระวังป้องกันตัวเอง หรืออบพยบได้ทันท่วงที
  • ติดตั้งป้ายแสดงผลคุณภาพอากาศแบบ Real-time พร้อมทั้งข้อความแนะนำหรือแจ้งเดือน จำนวน 20 ป้าย ตามสถานที่ที่ประชาชนเข้าถึงได้ง่าย เช่น แหล่งชุมชน จุดรอรถโดยสาร เป็นต้น เพื่อให้ประชาชนทราบและตระหนักถึงปัญหาคุณภาพอากาศ
  • วิเคราะห์พื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดปัญหาคุณภาพอากาศ และอุบัติเหตุ อุบัติภัย และจัดทำหรือปรับปรุปแผนในการบริหารจัดการปัญหาคุณภาพอากาศ และเหตุฉุกเฉินในโรงงาน ประเภทสารเคมีรั่วไหล ไฟไหม้ ระเบิด พร้อมทั้งวางแผนการดำเนินงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อแก้ไขปัญหาสภาพอากาศ เช่น  การจัดการจราจร  การตรวจควันของพาหนะ  การตรวจโรงงาน  การก่อสร้าง  การปล่อยอากาศเสีย  และการเผา เป็นต้น
  • สร้างเครือข่ายเฝ้าระวังคุณภาพอากาศ ตำบลละ 1 กลุ่ม ทั้งหมด 4 กลุ่ม เพื่อคอยเฝ้าระวัง สอดส่องการปล่อยมลพิษ รายงานปัญหาสิ่งผิดปกติ และตรวจสอบแหล่งที่มาของปัญหาหากได้รับการแจ้งเตือน ผ่านโครงการเชื่อมโยงการสื่อสารระหว่างภาครัฐและประชาชน
  • แต่งตั้งคณะทำงานในการดำเนินโครงการ โดยมีผู้แทนจากสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดเฝ้าระวังและดำเนินการตามแผนป้องกันฝุ่น 5 สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดการรรับผิดชอบเกี่ยวกับแผนเผชิญเหตุ PM2.5 และเหตุฉุกเฉิน สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดรับผิดชอบเกี่ยวกับการประสานงานและตรวจสอบโรงอุตสาหกรรม พร้องทั้งร่วมกันหาสาเหตุและต้นเหตุของปัญหา สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดรับผิดชอบในการสนับสนุนและให้ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพ นิคมอุตสาหกรรมบางปูประสานงานโรงงานในนิคมอุตสาหกรรม และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่รับผิดชอบพื้นที่ เป็นคณะทำงานเพื่อกำกับติดตาม ประเมินผลและกำหนดแผนงานในการการดำเนินโครงการ พร้อมทั้งรายงานผลการดำเนินการให้คณะกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ (Smart City) จังหวัดสมุทรปราการทุก 6 เดือนเป็นอย่างน้อย
  • การอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับปัญหาสภาพอากาศและซักซ้อมการปฏิบัติตามแผนที่กำหนด ให้แก่กลุ่มเครือข่ายระวังคุณภาพอากาศ เจ้าหน้าที่ของรัฐและเจ้าหน้าที่โรงงานรวมทั้งประชาชนที่อาจะได้รับผลกระทบหรือผู้ที่สนใจ
  • ประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้และส่งเสิรมการมีส่วนร่วมของประชาชนและชุมชน เกี่ยวกับการดำเนินโครงการ รณรงค์ให้ความรู้ในการป้องกันตนและลดการเกิดมลพิษทางอากาศจากต้นเหตุ และเตรียมการรับมือเหตุฉุกเฉิน
  • สอบทานการวิเคราะห์การเฝ้าตรวจ โดยมีผู้ปฏิบัติงานเก็บตัวอย่างและการส่งวิเคราะห์ผลจากห้องแลป แล้วสอบเทียบกับเซนเซอร์เป็นประจำว่ามลภาวะทางอากาศมีสาเหตุมาจากอะไร

ผลลัพธ์ที่คาดหวัง

ระยะสั้น

  • ทราบสถานการณ์คุณภาพอากาศ และประเภทมลภาวะ ในบริเวณต่าง ๆ
    และแหล่งกำเนิดมลภาวะ ตลอด 24 ชั่วโมง
  • ทราบสาเหตุและต้นเหตุของการเกิดปัญหาคุณภาพอากาศ
  • ประชาชนมีความตระหรักรู้เกี่ยวกับคุณภาพอากาศ และสามารถปฏิบัติตนในสถานการณ์ต่างๆ ได้อย่างถูกต้อง
  • ป้องการและลดความเสียหายจากเหตุฉุกเฉินที่เกิดขึ้นได้

ระยะกลาง

  • สามารถนำข้อมูลที่ได้มาจัดทำหรือปรับปรุงแผนบริหารจัดการคุณภาพอากาศและเหตุฉุกเฉิน
  • ลดช่วงเวลาที่มีคุณภาพอากาศต่ำว่าเกณฑ์มาตรฐาน
  • เป็นต้นแบบในการบริหารจัดการคุณภาพอากาศและการแจ้งเตือนเหตุฉุกเฉินในพื้นที่อื่น ๆ

ระยะยาว

  • ประชาชนมีความมั่นใจในการบริการจัดการคุณภาพอากาศและเหตุฉุกเฉิน
  • มีประชากรอาศัยและท่องเที่ยวในจังหวัดสมุทรปราการเพิ่มมากขึ้น
  • จังหวัดสมุทรปราการคุณภาพอากาศเป็นไปตามมาตรฐาน

ผลกระทบในเชิงเศรษฐกิจและสังคม

  • คุณภาพอากาศดีขึ้น ทำให้ประชาชนได้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดี มีสุขภาพที่ดีขึ้น
    ลดความเสี่ยงการเกิดโรคระบบทางเดินหายใจ
  • เกิดความเชื่อมั่นให้ผู้การประกอบการ หรือประชาชนที่อยู่อาศัย เนื่องจากมีระบบการแจ้งเตือนเหตุฉุกเฉินที่มีประสิทธิภาพ
  • สร้างภาพลักษณ์ที่ดีด้านการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างถูกวิธี
  • ดึงดูดการท่องเที่ยว และการพักอาศัยในจังหวัด เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่มีอากาศบริสุทธิ์ ส่งผลให้เกิดการเติบโตทางเศรษฐกิจ เม็ดเงินไหลเข้าจังหวัด เกิดการจ้างงานในจังหวัดมากยิ่งขึ้น