ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรปราการ เป็นประธานการประชุมนายอำเภอ และหัวหน้าส่วนราชการสังกัดกระทรวงมหาดไทย ครั้งที่ 6/2565

ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรปราการ เป็นประธานการประชุมนายอำเภอ และหัวหน้าส่วนราชการสังกัดกระทรวงมหาดไทย ครั้งที่ 6/2565

ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรปราการ เป็นประธานการประชุมนายอำเภอ และหัวหน้าส่วนราชการสังกัดกระทรวงมหาดไทย ครั้งที่ 6/2565

วันที่ 29 มิถุนายน 2565 เวลา 08.00 น. นายวันชัย คงเกษม ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรปราการ เป็นประธานการประชุมนายอำเภอ และหัวหน้าส่วนราชการสังกัดกระทรวงมหาดไทย ครั้งที่ 6/2565 ณ ห้องประชุมสำนักงานเหล่ากาชาดจังหวัดสมุทรปราการ โดยมี นายศุภมิตร ชิณศรี รองผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรปราการ นายเจนเจตน์ เจนนาวิน รองผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรปราการ นายประทีป นทีทวีวัฒน์ ปลัดจังหวัดสมุทรปราการ นายภูธนะ ชมภูมิ่ง หัวหน้าสำนักงานจังหวัดสมุทรปราการ พร้อมด้วยหัวหน้าส่วนราชการในสังกัดกระทรวงมหาดไทย และนายอำเภอ เข้าร่วมการประชุมโดยพร้อมเพรียง
ที่ประชุมได้มีการหารือในประเด็นสรุปผลตัวชี้วัดการทำงานของอำเภอประจำเดือนมิถุนายน 2565 และตัวชี้วัดการทำงานของอำเภอประจำเดือนกรกฎาคม 2565 เพื่อขับเคลื่อนโครงการสำคัญของกรมการปกครองประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565(10Flagships to DOPA New Normal 2022) ผลการบันทึกข้อมูลรายครัวเรือนผ่านระบบ ThaiQM และ TPMAP จังหวัดสมุทรปราการ และเป้าหมายการบันทึกข้อมูลครัวเรือนและการแก้ไขปัญหาผ่านระบบ ThaiQM จังหวัดสมุทรปราการ ผลการดำเนินงานศูนย์อำนวยการจิตอาสาพระราชทาน จังหวัดสมุทรปราการ สรุปผลการดำเนินการออกจัดระเบียบสังคม และการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ ผลการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในพื้นที่จังหวัดสมุทรปราการ และสรุปผลการเบิกจ่ายงบประมาณ ประจำปี พ.ศ. 2565
ในการนี้ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรปราการได้มีข้อเน้นย้ำ ข้อสั่งการในประเด็นสำคัญ ดังนี้
1. การป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโควิด – 19
ด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด – 19 ยังคงมีการระบาดอย่างต่อเนื่อง เพื่อป้องกันและยับยั้งมิให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด – 19 ระลอกใหม่อีกครั้ง จึงขอเน้นย้ำให้ทุกส่วนราชการ ประชาสัมพันธ์ให้บุคลากร เจ้าหน้าที่ภายในหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนในพื้นที่ ดังนี้
1) ฉีดวัคซีนป้องกันโควิด – 19 เข็มกระตุ้นอย่างต่อเนื่องตามจุด Walkin ฉีดวัคซีนที่ทางจังหวัดกำหนด โดยเฉพาะกลุ่มเด็กนักเรียน และกลุ่ม 608 เพื่อสร้างภูมิคุ้มกัน ลดโอกาสการป่วยหนัก
และเสียชีวิต
2) ร้านจำหน่ายอาหารและเครื่องดื่ม ห้างสรรพสินค้าร้านสะดวกซื้อ และสถานที่ที่มีผู้ใช้บริการเป็นจำนวนมาก เน้นย้ำให้รักษาความสะอาดอยู่เสมอ เช่น โต๊ะ เก้าอี้ และสิ่งของเครื่องใช้ที่ประชาชนสัมผัสบ่อยครั้ง
3) สวมใส่หน้ากากอนามัย ในขณะที่อยู่ร่วมกับบุคคลอื่นจำนวนมากในสถานที่แออัด และเว้นระยะห่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่ม 608และผู้สัมผัสเสี่ยงสูง
4) หมั่นล้างมือด้วยน้ำสบู่หรือเจลแอลกอฮอล์ ตรวจวัดอุณหภูมิ ตรวจหาเชื้อโรคโควิด – 19 โดยเฉพาะผู้ที่มีอาการน่าสงสัยและมีประวัติสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ที่สงสัยติดเชื้อ ให้รีบพบแพทย์และแจ้งข้อมูลเพื่อเข้ารับการรักษาอย่างทันท่วงที
2. การแก้ไขปัญหายาเสพติดในพื้นที่จังหวัดสมุทรปราการ
ตามที่จังหวัดสมุทรปราการได้ดำเนินยุทธการ “นับถอยหลัง 60 วัน ล้างบัญชียาเสพติด” ซึ่งทุกอำเภอได้ดำเนินการตามเรื่องร้องเรียนที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติดจากแหล่งต่างๆ ครบทุกเรื่อง จนมียอดเป็น 0 แล้ว ตั้งแต่วันที่ 26 มิถุนายน 2565 นั้น เพื่อให้การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดดำเนินได้อย่างต่อเนื่อง จึงขอเน้นย้ำให้อำเภอ บูรณาการร่วมกับตำรวจภูธรจังหวัด กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในจังหวัด และภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการป้องกัน ปราบปราม และแก้ไขปัญหายาเสพติดอย่างต่อเนื่องตามเป้าหมายเรื่องร้องเรียนที่จะทยอยเข้ามาเพิ่มในอนาคต ตามแนวทางที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกัน และปราบปรามยาเสพติด หรือ ป.ป.ส. กำหนด เพื่อไม่ให้มีเรื่องคงค้างในระบบ
3. การบริหารจัดการขยะ สิ่งปฏิกูลและน้ำเสีย ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
จากการที่กระทรวงมหาดไทยได้มีนโยบายให้จังหวัดทุกจังหวัดสนับสนุนการขับเคลื่อนการทำความดีถวายสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 90 พรรษา 12 สิงหาคม 2565 โดยให้ดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 1 สิงหาคม 2565 จึงขอเน้นย้ำให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องดำเนินการ ดังนี้
1) ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกแห่งจัดทำข้อบัญญัติท้องถิ่น เรื่อง การอนุญาตให้มีการก่อสร้างอาคารบ้านเรือนใหม่โดยกำหนดให้ต้องมีบ่อบำบัดน้ำเสียประจำครัวเรือนในแบบก่อสร้าง
2) ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรณรงค์ส่งเสริมให้มีการจัดทำถังขยะเปียกลดโลกร้อนทุกครัวเรือน และจัดทำถังขยะเปียกแบบมีฝาปิด ในกรณีที่ครัวเรือนไม่สามารถดำเนินการได้ เช่น ตึกแถว ขอให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดหาถังขยะเพิ่มเติมอย่างน้อย 3 ถัง เช่น ถังขยะเปียก ถังขยะแห้ง และถังขยะอันตราย โดยให้มีทุกชุมชนโดยให้พิจารณาปรับใช้มาตรการตามความเหมาะสมของพื้นที่
3) ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินการชับเคลื่อนกิจกรรมอาสาสมัครท้องถิ่นรักษ์โลก และสร้างความตระหนักรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการขยะมูลฝอยให้แก่ประชาชนในท้องถิ่นและให้สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นแจ้งให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินการตามแนวทางของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น